วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551

สมุนไพรแก้นอนไม่หลับ


ขี้เหล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia siamea Britt.
วงศ์ : Leguminosae
ชื่อสามัญ : Cassod Tree / Thai Copper Pod
ชื่ออื่น ขี้เหล็กแก่น ขี้เหล็กบาน
ขี้เหล็กหลวง ขี้เหล็กใหญ่ลักษณะ : ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบ
ประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อยรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.5 ซม.
ยาว 4 ซม. ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแกมเขียว ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผล เป็นฝักแบนยาวและหนา ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ดอกเป็นยานอนหลับ ลดความดันโลหิตดอกตูมและใบอ่อนเป็นยาระบาย ใบแก้ระดูขาว แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ แก่นแก้ไข้ ทำให้นอนหลับ รักษากามโรค ใบอ่อนและแก่นมีสารกลุ่มแอนทราควิโนนหลายชนิด จึงมีฤทธิ์เป็นยาระบายใช้ใบอ่อนครั้งละ 2-3 กำมือ ต้มกับน้ำ 1-1.5 ถ้วย เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว นอกจากนี้ในใบอ่อนและดอกตูมยังพบสารซึ่งมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางทำให้นอนหลับโดยใช้วิธีดองเหล้าดื่มก่อนนอน

สมุนไพรพื้นบ้าน



ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Rosc.
วงศ์ Zingiberaceae
ชื่อท้องถิ่น ขิงเผือก(เชียงใหม่)ขิงแกลงขิงแดง(จันทบุรี) สะเอ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ขิงเป็นพืชล้มลุก มีแล่งใต้ดิน แง่งจะแตกแขนงออกมาคล้ายนิ้วมือเนื้อในเป็นสีเหลืองแกมเขียว ใบสีเขียวใบไม้ เรียงแคบ ปลายแหลมดอหเป็นช่อขนาดเล็กดอกสีเหลืองจะบานจากต้นไปหาปลาย
ส่วนที่ใช้เป็นยา »เหง้าแก่สด
การปลูก »
ขิงชอบดินเหนียวปนทราย ชุ่มชื้นระบายน้ำได้ดี ใช้แง่งที่ชำเอามาปลูกโดยวางให้ด้านที่แตกหน่อตั้งขึ้น
รสและสรรพคุณยาไทย »รสเผ็ดร้อน แก้จุกเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียนอาเจียน
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา »
เก็บเกี่ยวในช่วงอายุ 11-12 เดือน
วิธีใช้ »
1. ใช้ขิงแก่ขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือทุบให้ให้แตก หรือหั่นเป็นแว่นต้มกับน้ำ 1 แก้วใช้ไฟอ่อนๆ ต้มให้เดือดนาน 5 นาที ต้มเสร็จเอาขิงออก เติมน้ำเล็กน้อยดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว เช้า-กลางวัน-เย็น
2. ใช้ขิงแก่ขนาดหัวแม่มือ ฝานเป็นแผ่นบางๆเติมน้ำร้อนเดือดจัดๆให้เต็มถ้วยปิดฝาตั้งไว้ให้พออุ่น ใส่น้ำตาลเล็กน้อย ดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว
ข้อเสนอแนะ»
1. หากไม่มีขิงสดจะใช้ขิงแห้งแทนก็ได้
2. ขิงผงที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปผ่านกระบวนการหลายอย่างทำให้สรรพคุณ ลดลงได้
3. หากดื่มแล้วรู้สึกคอแห้งหรือกระหายน้ำเพิ่มขึ้น ควรหยุดใช้ยา
คุณค่าทางอาหาร »
ใขิงอ่อนเอามาปรุงอาหารได้มากมายหลายอย่าง เช่นไก่ผัดขิงใส่ในต้มส้มปลากระบอก โจ๊กหมู โจ๊กไก่ โจ๊กกุ้งหรือโจ๊กอะไรก็ตามได้ทั้งนั้น
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ »
เหง้าขิงมีน้ำมันหอมระเหย ในน้ำมันนี้มีสารเคมีหลายชนิดด้วยกันที่สำคัญมี Zingiberine, Zingiberol, Citralนอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยยังมีสารที่ชื่อ Oleo- resin อยู่ในปริมาณสูง เป็นสารที่ทำให้ขิงมีรสเผ็ดและกลิ่นหอม น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนองสารสกัดจากขิงป้องกัน การคลื่นไส้ อาเจียนได้

วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สมุนไพรแก้เลือดออกตามไรฟัน



มะนาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Citrus aurantifolia Swing.
วงศ์ :Rutacearชื่อสามัญ : Lime
ชื่ออื่น :ส้มมะนาวลักษณะ :ไม่พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้น้ำมะนาวและผลดองแห้งเป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะเช่นดีปลี

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สมุนไพรแก้จุกเสียด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa Linn
วงศ์ Zingiberaceae
ชื่อท้องถิ่น ขมิ้น (ทั่วไป) หมิ้น (ภาคใต้)

ลักษณะของพืช »
ขมิ้นเป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวใบรูปเรียวยาว ดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อแทงออกมาจากเหง้าโดยตรง ดอกสีขาวอมเหลือง
ส่วนที่ใช้เป็นยา »เหง้าสดหรือแห้ง
การปลูก »
ขมิ้นชอบอากาศค่อนข้างร้อนและมีความชุ่มชื้นในเวลากลางคืน วิธีปลูกใช้เหง้าแก่ที่อายุได้11 - 12 เดือน ทำพันธุตัดออกเป็นท่อนละ 1-2 ตา ปลูกลงแปลงหลังจาก7 วันรากก็จะเริ่มงอกควรลดน้ำทุกวัน หลังจากนั้นเมื่อขมิ้นมีอายุได้ 9-10 เดือนจึงจะขุดเอามาใช้ได้
รสและสรรพคุณยาไทย »รสฝาด กลิ่นหอม แก้โรคผิวหนัง ขับลม แก้ผื่นคัน แก้ท้องร่วง
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา »
เก็บในช่วงอายุ 9-10 เดือน

วิธีใช้ »
อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด และอาหารไม่ย่อยทำโดยล้างขมิ้นให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือกออก หั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดจัดสัก 1-2 วัน บดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย กินครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3 -4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน แต่บางคนเมื่อกินยานี้แล้วแน่นจุกเสียดให้หยุดกินยานี้
คุณค่าทางอาหาร »
เหง้าขมิ้นพบว่ามี วิตามิน เอ วิตามิน ซีนอกจากนั้นยังมีเกลือแร่ต่างๆอีกพอสมควร เป็นเครื่องปรุงรส แต่งสีได้ดีมาก

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ »
เหง้าขมิ้นมีสารประกอบที่สำคัญ เป็นน้ำมันหอมระเหย "เอสเซนเซียล" และในเหง้ายังมีสารสีเหลืองส้มที่ทำให้ขมิ้นได้ชื่อว่า Curcumin จากการทดลองพบว่าขมิ้นสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดอาการอักเสบ มีฤทธิ์ในการขับน้ำได้ดี น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสรรพคุณรักษาปวดท้องเสียด ท้องอืด แน่นจุกเสียด ขมิ้นไม่มีพิษเฉียบพลัน มีความปลอดภัยสูง

สมุนไพรเพื่อสมอง



ชีวิตที่เร่งรีบในยุคนี้ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมามากมาย หนึ่งในปัญหาเหล่านั้นก็คือ ความจำเสื่อม
ซึ่งอาจจะเป็นโรคหรือไม่เป็นก็ได้ การทำงานที่ใช้สมองมากขึ้น ประกอบกับการรับประทานอาหารที่ผิดเพื้ยนไป จากอาหารปกติ รวมถึงการขาดสารอาหารบางชนิดส่งผลให้เซลล์สมอง ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ก็อาจทำให้เซลล์สมองเสื่อมสภาพเร็วขึ้น เมื่อพูดถึงเรื่องความจำหลายคนก็จะคิดถึงการบำรุงสมอง โดยวิตามินและเกลือแร่ที่มีวางจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด แต่ปัจจุบันได้มีการนำสมุนไพรหลายชนิดมาใช้เพื่อบำรุงสมอง
โรคความจำเสื่อมเกือบทุกชนิดจะเกี่ยวข้องกับความเสื่อมของเซลล์สมอง ดังนั้นจะสังเกตเห็นว่าการลดความเสื่อมจะมุ่งไปที่การป้องกันการตายของเซลล์สมองไม่ว่าจะด้วยทางตรงหรือทางอ้อม
สมุนไพรที่ช่วยในเรื่องของความจำ ถ้าจะว่าไปแล้วก็มีอยู่มากมายหลายชนิด ซึ่งในที่นี้จะได้กล่าวถึงบางชนิดเท่านั้น
1. Gingko Biloba
เป็นสมุนไพรจีนที่นิยมใช้กันมานานกว่าพันปีแล้ว สารสำคัญกลุ่ม Flavoglycosides มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดซึ่งผลที่ตามมาก็คือ เพิ่มการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่สมอง ทำให้เซลล์สมองได้รับสารอาหารและอ๊อกซิเจนมากขึ้น 1 ในทางกลับกันของเสียที่มีอยู่ในเซลล์ ก็จะถูกกำจัดออกจากเซลล์ได้ดีขึ้น นอกจากนี้สารสำคัญในแปะก๊วยยังช่วยลดการเกาะตัวของเกร็ดเลือด ทำให้เพิ่มการไหลเวียนของเลือด โดยเฉพาะเส้นเลือดที่มีขนาดเล็ก คุณสมบัติในการลดเกร็ดเลือดนี้ไม่ดี สำหรับผู้ที่เลือดหยุดไหลช้า ผู้ป่วยที่ต้องรับการผ่าตัดหรือผ่าตัดแล้ว (6 เดือน) และผู้ที่มีประวัติเส้นเลือดในสมองแตก
2. Gotu Kola
เป็นพืชที่พบได้มากในบ้านเรา ประโยชน์ทางด้านการบำรุงสมองเกิดจากการเพิ่มความแข็งแรง ของหลอดเลือดเป็นผลให้หลอดเลือดเล็ก ๆ มีความสมบูรณ์ซึ่งก็ทำให้การลำเลียงอาหาร และอ๊อกซิเจนไปยังเซลล์สมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ สารในกลุ่ม triterpenes มีฤทธิ์อ่อน ๆ ในการกระตุ้น cholinergic mechanism ในร่างกายช่วยให้ลดความเครียดและความกังวลหรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ทำให้ผ่อนคลายมากขึ้น 2 นั่นเอง
3. Ginseng
โสมจะมีผลทางอ้อมต่อความจำนั้นก็คือจะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมน จากต่อมหมวกไตซึ่งจะทำให้ลดความเครียด ที่เป็นสาเหตุของการตายของเซลล์สมองได้ 3

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สมุนไพรแก้ท้องเสีย


ว่านนางคำ

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Curcuma aromatica Salisb.ชื่อพ้อง C.zedoaria Roxb

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ล้มลุก เหง้าและหัวสีเหลือง มีกลิ่นหอมใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกใกล้ราก ประมาณ 5-7 ใบ รูปใบหอกกว้าง กว้าง 10-14 ซม. ยาว 40-70 ซม. ปลายเรียวแหลม ท้องใบมีขน ดอกช่อเชิงลด มักมีดอกก่อนใบงอกจากเหง้า ช่อดอกยาวประมาณ 5-8 ซม.ใบประดับที่ปลายช่อสีชมพู ใบประดับที่รองรับดอกสีขาวแกมเขียว ปลายโค้ง ยาวได้ถึง 6 ซม. ใบประดับย่อยสีขาว ยาวประมาณ 2 ซม. กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2 ซม. กลีบดอกสีขาวแกมชมพูแฉกกลางรูปไข่กว้าง แฉกข้างรูปขอบขนาน กลีบปากรูปโล่แยกเป็น 3 แฉก สีเหลืองเข้ม ในว่านนางคำ มีสาร curcuminoid ที่ช่วยลดอนุมูลอิสระ และช่วยปรับสภาพผิวให้ขาวขึ้น และมีสารไฟโตเคมีคอลอีกจำนวนมากที่ช่วยบำรุงผิวให้เนียนนุ่มขาวนวล ในสมัยโบราณว่านนางคำเป็นว่านที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสีท่านมักใช้อยู่เป็นประจำ โดยเมื่อเวลาที่ท่านสรงน้ำเสร็จ ท่านก็จะนำว่านนางคำมาทาศรีษะและตามร่างกาย ท่านมักทำเช่นนี้จนเป็นกิจวัตรจนเรื่องถึงพระเนตรพระกรรณ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ และพระองค์ทรงตรัสสรรพยอกว่า“หัวเหลือง” สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านอาจเล็งเห็นถึงคุณวิเศษที่มีอยู่ในว่านชนิดนี้ก็เป็นได้ ถึงได้นำมาใช้อยู่เสมอๆ ถือกันว่าเป็นว่านศักดิ์สิทธิ์จึงให้เสกด้วยคาถา“นะโมพุทธายะ” มีผู้รู้บางท่านนำว่านนางคำมาใช้เพื่อหวังทางเสน่ห์มหานิยม ทั้งการทำเป็นกระแจะเจิมที่หน้าผาก หรือผสมน้ำมันแตะแต้ม นอกจากนี้เล่ากันว่า "พระนางคลีโอพัตรา" ก็ใช้ "ว่านนางคำ" เป็นตัวช่วยให้ผิวงดงามอยู่ตลอดเวลา เพราะในหัว "ว่านนางคำ" มีสาร curcuminoid และวิตามินหลายชนิด ช่วยบำรุงผิว ป้องกันเม็ดผดผื่นในยุคปัจจุบัน ว่านนางคำ ได้ถูกนำมาสกัดสารสำคัญ เพื่อผสมลงในครีมบำรุงผิวทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมทั้งการทำยารักษาผิวหนังเป็นจำนวนมาก ช่วยลดผดผื่นคัน และลดเชื้อแบคทีเรียทางเภสัชมักนิยมใช้หัวสดตำให้ละเอียดผสมสุราโรง ๔๐ ดีกรี พอกแก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก โรคเม็ดผดผื่นคันตามร่างกาย มีบางตำราท่านว่านำหัวสดโขลกแช่กับน้ำมันเบนซินผสมการบูรเล็กน้อยทาแก้ฟกช้ำ หรือปวดเมื่อยตามร่างกาย แต่ประเด็นหลังนี้ไม่ขอแนะนำครับ เพราะผิวหนังอาจเกิดอาการแพ้น้ำมันได้ หรือหากใช้แก้อาการปวดท้อง ถ่ายท้อง ให้ใช้หัวสดฝนกับน้ำปูนใสกินอาการดังกล่าวจะทุเลาลง หรือจะกินหัวสดๆ กับเหล้าขาวก็ได้เช่นเดียวกัน รากใช้เป็นยาขับเสมหะและใช้เป็นยาสมาน แก้โรคท้องร่วง โรคหนองในเรื้อรัง และว่านนางคำสามารถนำมาปรุงเข้ากับยาสมุนไพรอื่นๆ ได้ ปัจจุบันตามร้านขายยาแผนโบราณยังคงใช้เป็นตัวยารักษาโรคเช่นเดิม

สรรพคุณ

1. ราก..... ขับเสมหะ แก้ลงท้อง เป็นยาสมาน แก้โรคหนองในเรื้อรัง

2. หัว...... ขับลมในลำไส้ แก้เม็ดผื่นคัน แก้ฟกช้ำ แก้ปวดท้อง แก้ข้อเคล็ด เคล็ดยอก แก้หนองใน ทาฝี แก้ต่อมทอนซิล และต่อมน้ำลาย อักเสบ แก้ฟกช้ำบวม

3. ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอกฟกบวม กระทุ้งพิษ แก้เม็กผื่นคัน ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง ขับเสมหะ แก้ท้องร่วง แก้หนองใน แก้มดลูกอักเสบ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยายับยั้งเนื้องอก ทำให้เกิดการสร้างแอนติบอดี เป็นพิษต่อตับและไตต้านอาการดีซ่าน ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านยีสต์ ต้านเชื้อรา เพิ่มพฤติกรรมธรรมชาติของสัตว์ทดลอง เร่งการสมานแผล ต้านไวรัส ฆ่าพยาธิไส้เดือนและพยาธิตัวแบน ยับยั้งการหดเกร็งกล้ามเนื้อกระตุ้นการหายใจต้านการเกิด complement ต้านการชัก ยับยั้งคอเลสเตอรรอลในเลือดสูงยับยั้งการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองที่เกิดจากภูมิแพ้ ทำให้แท้ง เป็นพิษต่อตัวอ่อนต้านโปรเจสเตอโรน เพิ่มฤทธิ์ของบาร์บิตูเรต ยับยั้งการขากโลหิตไปเลี้ยงเฉพาะที่ การทดลองความเป็นพิษพบว่าถ้าให้น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าโดยฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้หนูตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งคือ 655 มก/กก แต่ถ้าเป็นสารสกัดด้วยเอธานอล 90% จะเป็น 1ก/กก ส่วนสารสกัดเหง้าด้วย เอธานอลและน้ำ (1:1) โดยฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักรทั้งสองเพศ พบว่าขนาดที่หนูตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งคือ 1 ก/กก เช่นเดียวกัน

สมุนไพนแก้ไข้

หญ้าใต้ใบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Phullanthus amarusschumชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAEชื่ออื่น หญ้าใต้ใบขาว, มะขามป้อมดิน

สรรพคุณ

ทั้งต้นรสขมจัด แก้ไข้ทุถชนิด แก้ไข้จับสั่น ดับพิษร้อน แก้พิษตานซาง แก้โทษน้ำดีพิการ นอนหลับๆตื่น สะดุ้งผวา กระตุ้นไตให้ทำงานแก้ขัดเบา แก้กามโรค แก้ดีซ่าน แก้ริดสีดวง แก้โรคท้องมาน แก้ปวดท้อง แก้ไอ ขับระดู ขาว ขับปัสสาวะ ลดความดันเลือด รักษาโรคตับอักเสบ ขนิดบี

วิธีใช้

๑. แก้ไข้ท้องบระดู นำหญ้าใต้ใบทั้ง ๕ ล้างน้ำสะอาด ตำละเอียดผสมสุรา คั้นเฉพาะน้ำยา กินครั้งละ ๑ ถ้วยชา

๒. แก้ร้อนใน ให้เอาหญ้าใต้ใบทั้ง ๕ ต้มกิน

๓. ขับเหงื่อ เอาหญ้าใต้ใบต้มกินขับเหงื่อ ลดไข้ได้

๔. ขับปัสสาวะ นำหญ้าใต้ใบต้มกิน กระตุ้นไตให้ทำงานและขับ ปัสสาวะ

๕. แก้ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ใช้หญ้าใต้ใบต้มกิน รักษาโรคติด เชื้อทางเดินปัสสาวะ เช่น ไตอักเสบจนตัวบวม ( ให้สังเกตดู กินแล้วต้อง มีปัสสาวะออก ถ้ากินแล้วปัสสาวะไม่ออกให้หยุดยา)

๖. แก้นิ่ว หญ็าใต้ใบทั้ง ๕ จำนวน ๑ กำมือ ตำแหลกคั้นน้ำดื่มให้ได้ครึ่งถ้วยชา เอาสารส้มขนาดปลายนิ้วก้อยละลายลงไป ดื่มให้หมดครั้งละ ครึ่งถ้วยชา วันละ ๓ เวลาก่อนอาหาร ดื่มติดต่อกันให้ได้ ๓ วัน จากนั้น ใช้ลูกใต้ใบ ทั้ง๕ จำนวน ๑ กำมือ ต้มกับน้ำตาลทรายแดงให้พอหวานดื่มต่างน้ำติดต่อกันอีก ๓ วัน ขึ้นวันที่

๗ ดื่มน้ำอ้อยสด วันละ ๑ ขวดน้ำปลาอีก ๓ วัน เพื่อล้างนิ่วเป็นขั้นสุดท้าย รวม ๑ รอบ การรักษาเป็นเวลา ๙ วัน๗. แก้ประจำเดือนมากว่าปกติ ใช้รากสดต้นลูกใต้ใบตำผสมกับ น้ำซาวข้าวกิน

๘. ขับประจำเดือน ใช้ต้นลูกใต้ใบต้มกินขับประจำเดือน

๙. แก้นมหลง หญิงที่คลอดบุตรแล้วน้ำนมที่เคยไหลเกิดหยุดไหลและมีอาการปวดเต้านมด้วย เรียกอาการนี้ว่า นมหลง ถ้าปล่อยไว้จะกลายเป็นฝีที่นมได้ วิธีใช้คือ เอาลูกใต้ใบทั้งห้า จำนวน ๑ กำมือ ตำผสม เหล้าขาวคั้นเาอน้ำกิน ๑ ถ้วยชา เอากากพอกทำเพียงครั้งเดียว ไม่กี่นาที นมจะไหลออกมา

๑๐. แก้ปวดหลังปวดเมื่อย ใช้หญ้าใต้ใบทั้ง ๕ ล้างน้ำสะอาดสับเป็น ชิ้นเล็กๆ ตากแดดให้แห้ง ใส่หม้อดินต้ม ดื่มน้ำยาต่างน้ำชา มีสรรพคุณ แก้ปวดหลังปวดเอว

๑๑. แก้เถาดานในท้อง เถาดานมีลักษณะเป็นก้อนแข็งในท้องบางที มีลักษณะเป็นแผ่นแข็ง อาจเป็นผลทำให้ปวดหลังตามาได้ เอาลูกใต้ใบทั้งห้า ตากให้แห้ง ๑ ลิตร แช่ในสุรา ๑ ลิตร หมกข้าวเปลือกไว้ ๗ วัน แล้วเอามานึ่ง คะเนว่าธูปหมด ๑ ดอก กิน เช้า-เย็น

๑๒. ยาบำรุง ใช้รากและใบของลูกใต้ใบ ทำเป็นยาชงน้ำกิน โดยถือว่า เป็นยาบำรุงกำลังอย่างดี

๑๓. แก้เบาหวาน ให้เอาลูกใต้ใบทั้งห้า ๑ กำมือ ต้มดื่มแก้เบาหวาน

๑๔. แก้ดีซ่าน เอาลูกใต้ใบทั้งห้า ต้ม ๓ เอา ๑ กินครั้งละ ครึ่ง -๑ แก้ว วันละ ๓ -๔ ครั้ง ในจีนใช้ต้นหญ้าใต้ใบต้มกินติดต่อกัน ๑ สัปดาห์ และ ยังถือว่าช่วยกำจัดพิษออกจากตับซึ่งจะมีผลทำให้สายตาดี ส่วนใน อินเดีย ใช้เฉพาะรกาต้มกิน เป็นยาแก้ดีซ่านดีมาก

๑๕ แก้กระเพาะอาหารพิการ ใช้รากลูกใต้ใบต้มหรือชงน้ำกิน บำรุง กระเพาะอาหารในเขมรใช้ลูกใต้ใบเป็นยาเจริญอาหาร ในจีน ใช้ หญ้าใต้ใบรักษาลำไส้อักเสบ

๑๖. รักษาแผล ในอินเดีย ใช้ใบลูกใต้ใบ ตำพอกหรือตำคั้นเอาน้ำทารักษาแผลสด แผลฟกช้ำ และใช้ใบตำผสมน้ำซาวข้าวพอกรักษาแผล เรื้อรัง

๑๗. แก้คัน ใช้ใบผสมกับเกลือ ตำแก้คัน

๑๘. แก้เริม ใช้ลูกใต้ใบทั้งห้า ตำผสมเหล้าคั้นเอาน้ำยา แล้วเอาสำลี ชุบแปะตรงที่เป็นเริม จะรู้สึกเย็นและหายปวด

๑๙. แก้ฟกช้ำ ใช้ต้นสดๆ ตำผสมกับสุราพอกแก้ฟกบวม บางตำรา ใช้คลุกกับข้าวสุกเสียก่อน ค่อยพอก ในอินเดีย ใช้ใบและรากแห้งบดเป็นผงผสมกับน้ำซาวข้าวพอกแก้ฟกบวม

๒๐. แก้ฝี ใช้ต้นหญ้าใต้ใบสดๆ ตำผสมกับสุรา เอาน้ำทาหรือพอกแก้ ปวดฝี

๒๑. แก้หืด ใช้ลูกใต้ใบ ทั้งห้า นำมาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสม กับน้ำอุ่นคั้นเอาน้ำเฉพาะน้ำดื่มครั้งละ ๒-๓ อึก เป็นเวลา ๓ วันๆละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร

๒๒. แก้บิด ใช้ลูกใต้ใบทั้งห้าต้มกิน หรือใช้ลูกใต้ใบทั้งห้า แทรกปูน แดง ขนาดเม็ดถั่วดำ ต้มรวมกันกินแก้บิด