วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สมุนไพรแก้ท้องเสีย


ว่านนางคำ

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Curcuma aromatica Salisb.ชื่อพ้อง C.zedoaria Roxb

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ล้มลุก เหง้าและหัวสีเหลือง มีกลิ่นหอมใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกใกล้ราก ประมาณ 5-7 ใบ รูปใบหอกกว้าง กว้าง 10-14 ซม. ยาว 40-70 ซม. ปลายเรียวแหลม ท้องใบมีขน ดอกช่อเชิงลด มักมีดอกก่อนใบงอกจากเหง้า ช่อดอกยาวประมาณ 5-8 ซม.ใบประดับที่ปลายช่อสีชมพู ใบประดับที่รองรับดอกสีขาวแกมเขียว ปลายโค้ง ยาวได้ถึง 6 ซม. ใบประดับย่อยสีขาว ยาวประมาณ 2 ซม. กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2 ซม. กลีบดอกสีขาวแกมชมพูแฉกกลางรูปไข่กว้าง แฉกข้างรูปขอบขนาน กลีบปากรูปโล่แยกเป็น 3 แฉก สีเหลืองเข้ม ในว่านนางคำ มีสาร curcuminoid ที่ช่วยลดอนุมูลอิสระ และช่วยปรับสภาพผิวให้ขาวขึ้น และมีสารไฟโตเคมีคอลอีกจำนวนมากที่ช่วยบำรุงผิวให้เนียนนุ่มขาวนวล ในสมัยโบราณว่านนางคำเป็นว่านที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสีท่านมักใช้อยู่เป็นประจำ โดยเมื่อเวลาที่ท่านสรงน้ำเสร็จ ท่านก็จะนำว่านนางคำมาทาศรีษะและตามร่างกาย ท่านมักทำเช่นนี้จนเป็นกิจวัตรจนเรื่องถึงพระเนตรพระกรรณ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ และพระองค์ทรงตรัสสรรพยอกว่า“หัวเหลือง” สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านอาจเล็งเห็นถึงคุณวิเศษที่มีอยู่ในว่านชนิดนี้ก็เป็นได้ ถึงได้นำมาใช้อยู่เสมอๆ ถือกันว่าเป็นว่านศักดิ์สิทธิ์จึงให้เสกด้วยคาถา“นะโมพุทธายะ” มีผู้รู้บางท่านนำว่านนางคำมาใช้เพื่อหวังทางเสน่ห์มหานิยม ทั้งการทำเป็นกระแจะเจิมที่หน้าผาก หรือผสมน้ำมันแตะแต้ม นอกจากนี้เล่ากันว่า "พระนางคลีโอพัตรา" ก็ใช้ "ว่านนางคำ" เป็นตัวช่วยให้ผิวงดงามอยู่ตลอดเวลา เพราะในหัว "ว่านนางคำ" มีสาร curcuminoid และวิตามินหลายชนิด ช่วยบำรุงผิว ป้องกันเม็ดผดผื่นในยุคปัจจุบัน ว่านนางคำ ได้ถูกนำมาสกัดสารสำคัญ เพื่อผสมลงในครีมบำรุงผิวทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมทั้งการทำยารักษาผิวหนังเป็นจำนวนมาก ช่วยลดผดผื่นคัน และลดเชื้อแบคทีเรียทางเภสัชมักนิยมใช้หัวสดตำให้ละเอียดผสมสุราโรง ๔๐ ดีกรี พอกแก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก โรคเม็ดผดผื่นคันตามร่างกาย มีบางตำราท่านว่านำหัวสดโขลกแช่กับน้ำมันเบนซินผสมการบูรเล็กน้อยทาแก้ฟกช้ำ หรือปวดเมื่อยตามร่างกาย แต่ประเด็นหลังนี้ไม่ขอแนะนำครับ เพราะผิวหนังอาจเกิดอาการแพ้น้ำมันได้ หรือหากใช้แก้อาการปวดท้อง ถ่ายท้อง ให้ใช้หัวสดฝนกับน้ำปูนใสกินอาการดังกล่าวจะทุเลาลง หรือจะกินหัวสดๆ กับเหล้าขาวก็ได้เช่นเดียวกัน รากใช้เป็นยาขับเสมหะและใช้เป็นยาสมาน แก้โรคท้องร่วง โรคหนองในเรื้อรัง และว่านนางคำสามารถนำมาปรุงเข้ากับยาสมุนไพรอื่นๆ ได้ ปัจจุบันตามร้านขายยาแผนโบราณยังคงใช้เป็นตัวยารักษาโรคเช่นเดิม

สรรพคุณ

1. ราก..... ขับเสมหะ แก้ลงท้อง เป็นยาสมาน แก้โรคหนองในเรื้อรัง

2. หัว...... ขับลมในลำไส้ แก้เม็ดผื่นคัน แก้ฟกช้ำ แก้ปวดท้อง แก้ข้อเคล็ด เคล็ดยอก แก้หนองใน ทาฝี แก้ต่อมทอนซิล และต่อมน้ำลาย อักเสบ แก้ฟกช้ำบวม

3. ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอกฟกบวม กระทุ้งพิษ แก้เม็กผื่นคัน ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง ขับเสมหะ แก้ท้องร่วง แก้หนองใน แก้มดลูกอักเสบ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยายับยั้งเนื้องอก ทำให้เกิดการสร้างแอนติบอดี เป็นพิษต่อตับและไตต้านอาการดีซ่าน ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านยีสต์ ต้านเชื้อรา เพิ่มพฤติกรรมธรรมชาติของสัตว์ทดลอง เร่งการสมานแผล ต้านไวรัส ฆ่าพยาธิไส้เดือนและพยาธิตัวแบน ยับยั้งการหดเกร็งกล้ามเนื้อกระตุ้นการหายใจต้านการเกิด complement ต้านการชัก ยับยั้งคอเลสเตอรรอลในเลือดสูงยับยั้งการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองที่เกิดจากภูมิแพ้ ทำให้แท้ง เป็นพิษต่อตัวอ่อนต้านโปรเจสเตอโรน เพิ่มฤทธิ์ของบาร์บิตูเรต ยับยั้งการขากโลหิตไปเลี้ยงเฉพาะที่ การทดลองความเป็นพิษพบว่าถ้าให้น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าโดยฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้หนูตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งคือ 655 มก/กก แต่ถ้าเป็นสารสกัดด้วยเอธานอล 90% จะเป็น 1ก/กก ส่วนสารสกัดเหง้าด้วย เอธานอลและน้ำ (1:1) โดยฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักรทั้งสองเพศ พบว่าขนาดที่หนูตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งคือ 1 ก/กก เช่นเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น: