วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551

สมุนไพรแก้นอนไม่หลับ


ขี้เหล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia siamea Britt.
วงศ์ : Leguminosae
ชื่อสามัญ : Cassod Tree / Thai Copper Pod
ชื่ออื่น ขี้เหล็กแก่น ขี้เหล็กบาน
ขี้เหล็กหลวง ขี้เหล็กใหญ่ลักษณะ : ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบ
ประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อยรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.5 ซม.
ยาว 4 ซม. ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแกมเขียว ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผล เป็นฝักแบนยาวและหนา ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ดอกเป็นยานอนหลับ ลดความดันโลหิตดอกตูมและใบอ่อนเป็นยาระบาย ใบแก้ระดูขาว แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ แก่นแก้ไข้ ทำให้นอนหลับ รักษากามโรค ใบอ่อนและแก่นมีสารกลุ่มแอนทราควิโนนหลายชนิด จึงมีฤทธิ์เป็นยาระบายใช้ใบอ่อนครั้งละ 2-3 กำมือ ต้มกับน้ำ 1-1.5 ถ้วย เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว นอกจากนี้ในใบอ่อนและดอกตูมยังพบสารซึ่งมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางทำให้นอนหลับโดยใช้วิธีดองเหล้าดื่มก่อนนอน

สมุนไพรพื้นบ้าน



ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Rosc.
วงศ์ Zingiberaceae
ชื่อท้องถิ่น ขิงเผือก(เชียงใหม่)ขิงแกลงขิงแดง(จันทบุรี) สะเอ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ขิงเป็นพืชล้มลุก มีแล่งใต้ดิน แง่งจะแตกแขนงออกมาคล้ายนิ้วมือเนื้อในเป็นสีเหลืองแกมเขียว ใบสีเขียวใบไม้ เรียงแคบ ปลายแหลมดอหเป็นช่อขนาดเล็กดอกสีเหลืองจะบานจากต้นไปหาปลาย
ส่วนที่ใช้เป็นยา »เหง้าแก่สด
การปลูก »
ขิงชอบดินเหนียวปนทราย ชุ่มชื้นระบายน้ำได้ดี ใช้แง่งที่ชำเอามาปลูกโดยวางให้ด้านที่แตกหน่อตั้งขึ้น
รสและสรรพคุณยาไทย »รสเผ็ดร้อน แก้จุกเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียนอาเจียน
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา »
เก็บเกี่ยวในช่วงอายุ 11-12 เดือน
วิธีใช้ »
1. ใช้ขิงแก่ขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือทุบให้ให้แตก หรือหั่นเป็นแว่นต้มกับน้ำ 1 แก้วใช้ไฟอ่อนๆ ต้มให้เดือดนาน 5 นาที ต้มเสร็จเอาขิงออก เติมน้ำเล็กน้อยดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว เช้า-กลางวัน-เย็น
2. ใช้ขิงแก่ขนาดหัวแม่มือ ฝานเป็นแผ่นบางๆเติมน้ำร้อนเดือดจัดๆให้เต็มถ้วยปิดฝาตั้งไว้ให้พออุ่น ใส่น้ำตาลเล็กน้อย ดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว
ข้อเสนอแนะ»
1. หากไม่มีขิงสดจะใช้ขิงแห้งแทนก็ได้
2. ขิงผงที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปผ่านกระบวนการหลายอย่างทำให้สรรพคุณ ลดลงได้
3. หากดื่มแล้วรู้สึกคอแห้งหรือกระหายน้ำเพิ่มขึ้น ควรหยุดใช้ยา
คุณค่าทางอาหาร »
ใขิงอ่อนเอามาปรุงอาหารได้มากมายหลายอย่าง เช่นไก่ผัดขิงใส่ในต้มส้มปลากระบอก โจ๊กหมู โจ๊กไก่ โจ๊กกุ้งหรือโจ๊กอะไรก็ตามได้ทั้งนั้น
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ »
เหง้าขิงมีน้ำมันหอมระเหย ในน้ำมันนี้มีสารเคมีหลายชนิดด้วยกันที่สำคัญมี Zingiberine, Zingiberol, Citralนอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยยังมีสารที่ชื่อ Oleo- resin อยู่ในปริมาณสูง เป็นสารที่ทำให้ขิงมีรสเผ็ดและกลิ่นหอม น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนองสารสกัดจากขิงป้องกัน การคลื่นไส้ อาเจียนได้

วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สมุนไพรแก้เลือดออกตามไรฟัน



มะนาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Citrus aurantifolia Swing.
วงศ์ :Rutacearชื่อสามัญ : Lime
ชื่ออื่น :ส้มมะนาวลักษณะ :ไม่พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้น้ำมะนาวและผลดองแห้งเป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะเช่นดีปลี

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สมุนไพรแก้จุกเสียด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa Linn
วงศ์ Zingiberaceae
ชื่อท้องถิ่น ขมิ้น (ทั่วไป) หมิ้น (ภาคใต้)

ลักษณะของพืช »
ขมิ้นเป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวใบรูปเรียวยาว ดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อแทงออกมาจากเหง้าโดยตรง ดอกสีขาวอมเหลือง
ส่วนที่ใช้เป็นยา »เหง้าสดหรือแห้ง
การปลูก »
ขมิ้นชอบอากาศค่อนข้างร้อนและมีความชุ่มชื้นในเวลากลางคืน วิธีปลูกใช้เหง้าแก่ที่อายุได้11 - 12 เดือน ทำพันธุตัดออกเป็นท่อนละ 1-2 ตา ปลูกลงแปลงหลังจาก7 วันรากก็จะเริ่มงอกควรลดน้ำทุกวัน หลังจากนั้นเมื่อขมิ้นมีอายุได้ 9-10 เดือนจึงจะขุดเอามาใช้ได้
รสและสรรพคุณยาไทย »รสฝาด กลิ่นหอม แก้โรคผิวหนัง ขับลม แก้ผื่นคัน แก้ท้องร่วง
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา »
เก็บในช่วงอายุ 9-10 เดือน

วิธีใช้ »
อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด และอาหารไม่ย่อยทำโดยล้างขมิ้นให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือกออก หั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดจัดสัก 1-2 วัน บดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย กินครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3 -4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน แต่บางคนเมื่อกินยานี้แล้วแน่นจุกเสียดให้หยุดกินยานี้
คุณค่าทางอาหาร »
เหง้าขมิ้นพบว่ามี วิตามิน เอ วิตามิน ซีนอกจากนั้นยังมีเกลือแร่ต่างๆอีกพอสมควร เป็นเครื่องปรุงรส แต่งสีได้ดีมาก

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ »
เหง้าขมิ้นมีสารประกอบที่สำคัญ เป็นน้ำมันหอมระเหย "เอสเซนเซียล" และในเหง้ายังมีสารสีเหลืองส้มที่ทำให้ขมิ้นได้ชื่อว่า Curcumin จากการทดลองพบว่าขมิ้นสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดอาการอักเสบ มีฤทธิ์ในการขับน้ำได้ดี น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสรรพคุณรักษาปวดท้องเสียด ท้องอืด แน่นจุกเสียด ขมิ้นไม่มีพิษเฉียบพลัน มีความปลอดภัยสูง

สมุนไพรเพื่อสมอง



ชีวิตที่เร่งรีบในยุคนี้ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมามากมาย หนึ่งในปัญหาเหล่านั้นก็คือ ความจำเสื่อม
ซึ่งอาจจะเป็นโรคหรือไม่เป็นก็ได้ การทำงานที่ใช้สมองมากขึ้น ประกอบกับการรับประทานอาหารที่ผิดเพื้ยนไป จากอาหารปกติ รวมถึงการขาดสารอาหารบางชนิดส่งผลให้เซลล์สมอง ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ก็อาจทำให้เซลล์สมองเสื่อมสภาพเร็วขึ้น เมื่อพูดถึงเรื่องความจำหลายคนก็จะคิดถึงการบำรุงสมอง โดยวิตามินและเกลือแร่ที่มีวางจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด แต่ปัจจุบันได้มีการนำสมุนไพรหลายชนิดมาใช้เพื่อบำรุงสมอง
โรคความจำเสื่อมเกือบทุกชนิดจะเกี่ยวข้องกับความเสื่อมของเซลล์สมอง ดังนั้นจะสังเกตเห็นว่าการลดความเสื่อมจะมุ่งไปที่การป้องกันการตายของเซลล์สมองไม่ว่าจะด้วยทางตรงหรือทางอ้อม
สมุนไพรที่ช่วยในเรื่องของความจำ ถ้าจะว่าไปแล้วก็มีอยู่มากมายหลายชนิด ซึ่งในที่นี้จะได้กล่าวถึงบางชนิดเท่านั้น
1. Gingko Biloba
เป็นสมุนไพรจีนที่นิยมใช้กันมานานกว่าพันปีแล้ว สารสำคัญกลุ่ม Flavoglycosides มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดซึ่งผลที่ตามมาก็คือ เพิ่มการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่สมอง ทำให้เซลล์สมองได้รับสารอาหารและอ๊อกซิเจนมากขึ้น 1 ในทางกลับกันของเสียที่มีอยู่ในเซลล์ ก็จะถูกกำจัดออกจากเซลล์ได้ดีขึ้น นอกจากนี้สารสำคัญในแปะก๊วยยังช่วยลดการเกาะตัวของเกร็ดเลือด ทำให้เพิ่มการไหลเวียนของเลือด โดยเฉพาะเส้นเลือดที่มีขนาดเล็ก คุณสมบัติในการลดเกร็ดเลือดนี้ไม่ดี สำหรับผู้ที่เลือดหยุดไหลช้า ผู้ป่วยที่ต้องรับการผ่าตัดหรือผ่าตัดแล้ว (6 เดือน) และผู้ที่มีประวัติเส้นเลือดในสมองแตก
2. Gotu Kola
เป็นพืชที่พบได้มากในบ้านเรา ประโยชน์ทางด้านการบำรุงสมองเกิดจากการเพิ่มความแข็งแรง ของหลอดเลือดเป็นผลให้หลอดเลือดเล็ก ๆ มีความสมบูรณ์ซึ่งก็ทำให้การลำเลียงอาหาร และอ๊อกซิเจนไปยังเซลล์สมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ สารในกลุ่ม triterpenes มีฤทธิ์อ่อน ๆ ในการกระตุ้น cholinergic mechanism ในร่างกายช่วยให้ลดความเครียดและความกังวลหรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ทำให้ผ่อนคลายมากขึ้น 2 นั่นเอง
3. Ginseng
โสมจะมีผลทางอ้อมต่อความจำนั้นก็คือจะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมน จากต่อมหมวกไตซึ่งจะทำให้ลดความเครียด ที่เป็นสาเหตุของการตายของเซลล์สมองได้ 3

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สมุนไพรแก้ท้องเสีย


ว่านนางคำ

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Curcuma aromatica Salisb.ชื่อพ้อง C.zedoaria Roxb

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ล้มลุก เหง้าและหัวสีเหลือง มีกลิ่นหอมใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกใกล้ราก ประมาณ 5-7 ใบ รูปใบหอกกว้าง กว้าง 10-14 ซม. ยาว 40-70 ซม. ปลายเรียวแหลม ท้องใบมีขน ดอกช่อเชิงลด มักมีดอกก่อนใบงอกจากเหง้า ช่อดอกยาวประมาณ 5-8 ซม.ใบประดับที่ปลายช่อสีชมพู ใบประดับที่รองรับดอกสีขาวแกมเขียว ปลายโค้ง ยาวได้ถึง 6 ซม. ใบประดับย่อยสีขาว ยาวประมาณ 2 ซม. กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2 ซม. กลีบดอกสีขาวแกมชมพูแฉกกลางรูปไข่กว้าง แฉกข้างรูปขอบขนาน กลีบปากรูปโล่แยกเป็น 3 แฉก สีเหลืองเข้ม ในว่านนางคำ มีสาร curcuminoid ที่ช่วยลดอนุมูลอิสระ และช่วยปรับสภาพผิวให้ขาวขึ้น และมีสารไฟโตเคมีคอลอีกจำนวนมากที่ช่วยบำรุงผิวให้เนียนนุ่มขาวนวล ในสมัยโบราณว่านนางคำเป็นว่านที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสีท่านมักใช้อยู่เป็นประจำ โดยเมื่อเวลาที่ท่านสรงน้ำเสร็จ ท่านก็จะนำว่านนางคำมาทาศรีษะและตามร่างกาย ท่านมักทำเช่นนี้จนเป็นกิจวัตรจนเรื่องถึงพระเนตรพระกรรณ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ และพระองค์ทรงตรัสสรรพยอกว่า“หัวเหลือง” สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านอาจเล็งเห็นถึงคุณวิเศษที่มีอยู่ในว่านชนิดนี้ก็เป็นได้ ถึงได้นำมาใช้อยู่เสมอๆ ถือกันว่าเป็นว่านศักดิ์สิทธิ์จึงให้เสกด้วยคาถา“นะโมพุทธายะ” มีผู้รู้บางท่านนำว่านนางคำมาใช้เพื่อหวังทางเสน่ห์มหานิยม ทั้งการทำเป็นกระแจะเจิมที่หน้าผาก หรือผสมน้ำมันแตะแต้ม นอกจากนี้เล่ากันว่า "พระนางคลีโอพัตรา" ก็ใช้ "ว่านนางคำ" เป็นตัวช่วยให้ผิวงดงามอยู่ตลอดเวลา เพราะในหัว "ว่านนางคำ" มีสาร curcuminoid และวิตามินหลายชนิด ช่วยบำรุงผิว ป้องกันเม็ดผดผื่นในยุคปัจจุบัน ว่านนางคำ ได้ถูกนำมาสกัดสารสำคัญ เพื่อผสมลงในครีมบำรุงผิวทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมทั้งการทำยารักษาผิวหนังเป็นจำนวนมาก ช่วยลดผดผื่นคัน และลดเชื้อแบคทีเรียทางเภสัชมักนิยมใช้หัวสดตำให้ละเอียดผสมสุราโรง ๔๐ ดีกรี พอกแก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก โรคเม็ดผดผื่นคันตามร่างกาย มีบางตำราท่านว่านำหัวสดโขลกแช่กับน้ำมันเบนซินผสมการบูรเล็กน้อยทาแก้ฟกช้ำ หรือปวดเมื่อยตามร่างกาย แต่ประเด็นหลังนี้ไม่ขอแนะนำครับ เพราะผิวหนังอาจเกิดอาการแพ้น้ำมันได้ หรือหากใช้แก้อาการปวดท้อง ถ่ายท้อง ให้ใช้หัวสดฝนกับน้ำปูนใสกินอาการดังกล่าวจะทุเลาลง หรือจะกินหัวสดๆ กับเหล้าขาวก็ได้เช่นเดียวกัน รากใช้เป็นยาขับเสมหะและใช้เป็นยาสมาน แก้โรคท้องร่วง โรคหนองในเรื้อรัง และว่านนางคำสามารถนำมาปรุงเข้ากับยาสมุนไพรอื่นๆ ได้ ปัจจุบันตามร้านขายยาแผนโบราณยังคงใช้เป็นตัวยารักษาโรคเช่นเดิม

สรรพคุณ

1. ราก..... ขับเสมหะ แก้ลงท้อง เป็นยาสมาน แก้โรคหนองในเรื้อรัง

2. หัว...... ขับลมในลำไส้ แก้เม็ดผื่นคัน แก้ฟกช้ำ แก้ปวดท้อง แก้ข้อเคล็ด เคล็ดยอก แก้หนองใน ทาฝี แก้ต่อมทอนซิล และต่อมน้ำลาย อักเสบ แก้ฟกช้ำบวม

3. ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอกฟกบวม กระทุ้งพิษ แก้เม็กผื่นคัน ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง ขับเสมหะ แก้ท้องร่วง แก้หนองใน แก้มดลูกอักเสบ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยายับยั้งเนื้องอก ทำให้เกิดการสร้างแอนติบอดี เป็นพิษต่อตับและไตต้านอาการดีซ่าน ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านยีสต์ ต้านเชื้อรา เพิ่มพฤติกรรมธรรมชาติของสัตว์ทดลอง เร่งการสมานแผล ต้านไวรัส ฆ่าพยาธิไส้เดือนและพยาธิตัวแบน ยับยั้งการหดเกร็งกล้ามเนื้อกระตุ้นการหายใจต้านการเกิด complement ต้านการชัก ยับยั้งคอเลสเตอรรอลในเลือดสูงยับยั้งการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองที่เกิดจากภูมิแพ้ ทำให้แท้ง เป็นพิษต่อตัวอ่อนต้านโปรเจสเตอโรน เพิ่มฤทธิ์ของบาร์บิตูเรต ยับยั้งการขากโลหิตไปเลี้ยงเฉพาะที่ การทดลองความเป็นพิษพบว่าถ้าให้น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าโดยฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้หนูตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งคือ 655 มก/กก แต่ถ้าเป็นสารสกัดด้วยเอธานอล 90% จะเป็น 1ก/กก ส่วนสารสกัดเหง้าด้วย เอธานอลและน้ำ (1:1) โดยฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักรทั้งสองเพศ พบว่าขนาดที่หนูตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งคือ 1 ก/กก เช่นเดียวกัน

สมุนไพนแก้ไข้

หญ้าใต้ใบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Phullanthus amarusschumชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAEชื่ออื่น หญ้าใต้ใบขาว, มะขามป้อมดิน

สรรพคุณ

ทั้งต้นรสขมจัด แก้ไข้ทุถชนิด แก้ไข้จับสั่น ดับพิษร้อน แก้พิษตานซาง แก้โทษน้ำดีพิการ นอนหลับๆตื่น สะดุ้งผวา กระตุ้นไตให้ทำงานแก้ขัดเบา แก้กามโรค แก้ดีซ่าน แก้ริดสีดวง แก้โรคท้องมาน แก้ปวดท้อง แก้ไอ ขับระดู ขาว ขับปัสสาวะ ลดความดันเลือด รักษาโรคตับอักเสบ ขนิดบี

วิธีใช้

๑. แก้ไข้ท้องบระดู นำหญ้าใต้ใบทั้ง ๕ ล้างน้ำสะอาด ตำละเอียดผสมสุรา คั้นเฉพาะน้ำยา กินครั้งละ ๑ ถ้วยชา

๒. แก้ร้อนใน ให้เอาหญ้าใต้ใบทั้ง ๕ ต้มกิน

๓. ขับเหงื่อ เอาหญ้าใต้ใบต้มกินขับเหงื่อ ลดไข้ได้

๔. ขับปัสสาวะ นำหญ้าใต้ใบต้มกิน กระตุ้นไตให้ทำงานและขับ ปัสสาวะ

๕. แก้ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ใช้หญ้าใต้ใบต้มกิน รักษาโรคติด เชื้อทางเดินปัสสาวะ เช่น ไตอักเสบจนตัวบวม ( ให้สังเกตดู กินแล้วต้อง มีปัสสาวะออก ถ้ากินแล้วปัสสาวะไม่ออกให้หยุดยา)

๖. แก้นิ่ว หญ็าใต้ใบทั้ง ๕ จำนวน ๑ กำมือ ตำแหลกคั้นน้ำดื่มให้ได้ครึ่งถ้วยชา เอาสารส้มขนาดปลายนิ้วก้อยละลายลงไป ดื่มให้หมดครั้งละ ครึ่งถ้วยชา วันละ ๓ เวลาก่อนอาหาร ดื่มติดต่อกันให้ได้ ๓ วัน จากนั้น ใช้ลูกใต้ใบ ทั้ง๕ จำนวน ๑ กำมือ ต้มกับน้ำตาลทรายแดงให้พอหวานดื่มต่างน้ำติดต่อกันอีก ๓ วัน ขึ้นวันที่

๗ ดื่มน้ำอ้อยสด วันละ ๑ ขวดน้ำปลาอีก ๓ วัน เพื่อล้างนิ่วเป็นขั้นสุดท้าย รวม ๑ รอบ การรักษาเป็นเวลา ๙ วัน๗. แก้ประจำเดือนมากว่าปกติ ใช้รากสดต้นลูกใต้ใบตำผสมกับ น้ำซาวข้าวกิน

๘. ขับประจำเดือน ใช้ต้นลูกใต้ใบต้มกินขับประจำเดือน

๙. แก้นมหลง หญิงที่คลอดบุตรแล้วน้ำนมที่เคยไหลเกิดหยุดไหลและมีอาการปวดเต้านมด้วย เรียกอาการนี้ว่า นมหลง ถ้าปล่อยไว้จะกลายเป็นฝีที่นมได้ วิธีใช้คือ เอาลูกใต้ใบทั้งห้า จำนวน ๑ กำมือ ตำผสม เหล้าขาวคั้นเาอน้ำกิน ๑ ถ้วยชา เอากากพอกทำเพียงครั้งเดียว ไม่กี่นาที นมจะไหลออกมา

๑๐. แก้ปวดหลังปวดเมื่อย ใช้หญ้าใต้ใบทั้ง ๕ ล้างน้ำสะอาดสับเป็น ชิ้นเล็กๆ ตากแดดให้แห้ง ใส่หม้อดินต้ม ดื่มน้ำยาต่างน้ำชา มีสรรพคุณ แก้ปวดหลังปวดเอว

๑๑. แก้เถาดานในท้อง เถาดานมีลักษณะเป็นก้อนแข็งในท้องบางที มีลักษณะเป็นแผ่นแข็ง อาจเป็นผลทำให้ปวดหลังตามาได้ เอาลูกใต้ใบทั้งห้า ตากให้แห้ง ๑ ลิตร แช่ในสุรา ๑ ลิตร หมกข้าวเปลือกไว้ ๗ วัน แล้วเอามานึ่ง คะเนว่าธูปหมด ๑ ดอก กิน เช้า-เย็น

๑๒. ยาบำรุง ใช้รากและใบของลูกใต้ใบ ทำเป็นยาชงน้ำกิน โดยถือว่า เป็นยาบำรุงกำลังอย่างดี

๑๓. แก้เบาหวาน ให้เอาลูกใต้ใบทั้งห้า ๑ กำมือ ต้มดื่มแก้เบาหวาน

๑๔. แก้ดีซ่าน เอาลูกใต้ใบทั้งห้า ต้ม ๓ เอา ๑ กินครั้งละ ครึ่ง -๑ แก้ว วันละ ๓ -๔ ครั้ง ในจีนใช้ต้นหญ้าใต้ใบต้มกินติดต่อกัน ๑ สัปดาห์ และ ยังถือว่าช่วยกำจัดพิษออกจากตับซึ่งจะมีผลทำให้สายตาดี ส่วนใน อินเดีย ใช้เฉพาะรกาต้มกิน เป็นยาแก้ดีซ่านดีมาก

๑๕ แก้กระเพาะอาหารพิการ ใช้รากลูกใต้ใบต้มหรือชงน้ำกิน บำรุง กระเพาะอาหารในเขมรใช้ลูกใต้ใบเป็นยาเจริญอาหาร ในจีน ใช้ หญ้าใต้ใบรักษาลำไส้อักเสบ

๑๖. รักษาแผล ในอินเดีย ใช้ใบลูกใต้ใบ ตำพอกหรือตำคั้นเอาน้ำทารักษาแผลสด แผลฟกช้ำ และใช้ใบตำผสมน้ำซาวข้าวพอกรักษาแผล เรื้อรัง

๑๗. แก้คัน ใช้ใบผสมกับเกลือ ตำแก้คัน

๑๘. แก้เริม ใช้ลูกใต้ใบทั้งห้า ตำผสมเหล้าคั้นเอาน้ำยา แล้วเอาสำลี ชุบแปะตรงที่เป็นเริม จะรู้สึกเย็นและหายปวด

๑๙. แก้ฟกช้ำ ใช้ต้นสดๆ ตำผสมกับสุราพอกแก้ฟกบวม บางตำรา ใช้คลุกกับข้าวสุกเสียก่อน ค่อยพอก ในอินเดีย ใช้ใบและรากแห้งบดเป็นผงผสมกับน้ำซาวข้าวพอกแก้ฟกบวม

๒๐. แก้ฝี ใช้ต้นหญ้าใต้ใบสดๆ ตำผสมกับสุรา เอาน้ำทาหรือพอกแก้ ปวดฝี

๒๑. แก้หืด ใช้ลูกใต้ใบ ทั้งห้า นำมาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสม กับน้ำอุ่นคั้นเอาน้ำเฉพาะน้ำดื่มครั้งละ ๒-๓ อึก เป็นเวลา ๓ วันๆละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร

๒๒. แก้บิด ใช้ลูกใต้ใบทั้งห้าต้มกิน หรือใช้ลูกใต้ใบทั้งห้า แทรกปูน แดง ขนาดเม็ดถั่วดำ ต้มรวมกันกินแก้บิด

สมุนไพรขับปัสสาวะ


หญ้าหนวดแมว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Orthosiphon aristatus Miqชื่อวงศ์ LABITAEชื่ออังกฤษ : Java Tea, Kidney tea, Cat’ s Whiskersชื่ออื่น พยับเมฆ บางรักป่า อีตู่ดง
ลักษณะของพืช : พืชล้มลุก พวกเดียวกับกระเพรา โหระพา สูง 0.3-1 เมตรลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ขอบใบหยักสีเขียวเข้ม ดอกเป็นช่อที่ยอด สีขาวอมม่วง หรือสีฟ้า บานจากล่างขึ้นไปข้างบนเป็นชั้นๆ คล้ายฉัตรแต่ละชั้นมีดอกเล็กๆ 6 ดอก เกสรตัวผู้เป็นเส้นยาวยื่นออกมาคล้ายหนวดแมว เกสรสีขาวตรงปลายมีติ่งสีน้ำเงินอมม่วง ใบ และดอกเมื่อเคี้ยวสดๆมีรสขม
สรรพคุณและวิธีใช้
๑. ขับปัสสาวะ หญ้าหนวดแมวทำให้การขับปัสสาวะเพิ่มขึ้นทำให้ ปวดปัสสาวะเร็วกว่าเดิม และไม่ทำให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ สารที่ออกฤทธิขับปัสสาวะคือ เกลือโปแตสเซี่ยมและสารตัวอื่นๆ
๒. รักษานิ่วกรด ใช้หญ้าหนวดแมว รักษาคนไข้ที่เป็นนิ่วกรดโดย ให้กินนานๆ พบว่า หญ้าหนวดแมวยังช่วยขับกรดยูริคและช่วยทำให้ ปัสสาวะในไตมีฤทธิ์เป็นด่างมากขึ้น
๓. รักษาโรคนิ่ว หญ้าหนวดแมวขับนิ่วได้ โดยออกฤทธิ์ขับปัสสาวะและช่วยขยายหลอดไตให้กว้างขึ้น และทำให้อาการปวดนิ่วลดลง
๔. รักษาโรคไต หญ้าหนวดแมว ช่วยรักษาอาการโรคไตได้อีกทั้งรักษาคนที่เป็นโรคไตควบกับโรคหัวใจได้ด้วย
๕. ลดน้ำตาลในเลือด ใบหญ้าหนวดแมวมีกรดเออร์โซลิค ซึ่งกรดนี้ ลดน้ำตาลในเลือดได้
๖. รักษาถุงน้ำดีอักเสบ ใช้รักษาคนเป็นโรคถุงน้ำดีอักเสบ ได้ทั้ง ชนิดเรื้อรังและเฉียบพลัน นอกจากนี้ ยังมีฤทธิ์ขับน้ำดีและน้ำย่อยใน กระเพาะอาหารอีกด้วย
๗. แก้อัณฑะอักเสบ บวมโต เกิดการอักเสบภายใน อัณฑะบวมโตปัสสาวะไม่สะดวก ออกกระปริดกะปรอย แล้วปวด ใช้ยอดหญ้าหนวดแมว ตากแดด ๒ แดด ให้แห้ง แล้วต้มน้ำดื่ม ปัสสาวะจะสะดวกขึ้นจนหายเป็น ปกติ
๘. แก้ไขข้ออักเสบ มีอาการปวดตามข้อต่อกระดูกทุกแห่ง ค่อยๆ ปวดมากขึ้น จนเป็นไข้ ใช้หญ้าหนวดแมว ทั้ง ๕ ตัมพอยาสุก กินครั้งละ ๑ ถ้วย วันละ ๓ เวลา อาการปวดขัดตามข้อจะดีขึ้นตัวเบา สมองโปร่ง อารมณ์รื่นเริงดีขึ้น การใช้หญ็าหนวดแมวต้มกินติดต่อกันเป็นเวลา นานๆ จะรู้สึกคลื่นไส้อาเจียน แต่เมื่อหยุด จะหายไปเอง
๙. ปวดหลัง ปวดเอว ใช้หญ็าหนวดแมวทั้ง ๕ มาต้มกิน จะรู้สึกดี หายปวดเมื่อย
๑๐. แก้เบาหวาน หญ็าหนวดแมว มีสารลดน้ำตาลในเลือด ในชั่วระ ยะเวลาหนึ่ง
๑๑. ไอ เนื่องจากหวัด ชงชาหญ็าหนวดแมว ดื่มเพื่อบรรเทาอาการ ไอ
๑๒. แก้ปวดฟัน ใช้หญ้าหนวอแมวสดๆ ตำกับเกลือ แล้วอมไว้สัก ๑๐-๒๐ นาที ก็หายปวด และมาแน่นดังเดิม
๑๓. รักษาฟัน ในหญ้าหนวดอแมว มีสารยูเรีย ซึ่งทำให้ฟันแข็งแรงนอกจ
ข้อมูลทางคลินิก
นพ.พิชัย ตั้งสิน และ ภญ.ปริศนา แสงเจษฎา ศึกษาฤทธิ์ของยาชงหญ้าหนวดแมวในผู้ป่วยในทางเดินปัสสาวะ ส่วนบน เทียบกับไฮโดรคลอไรไธอาไซด์ และโซเดียมไบคาร์บอเนต โดยแบ่งกลุ่มผู้ป่วย 9 คน พบว่ากลุ่มที่ ได้รับยาหญ้าหนวดแมวมีการเคลื่อนตัวของนิ่วบริเวณกระดูกกระเบนเหน็บ (นิ่วชนิดทึบแสงในทางเดินปัสสาวะ เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 1 ซม. ) และใช้ยาแก้ปวดไม่ต่างจากกลุ่มที่ใช้ยามาตรฐาน ยาชงนี้มีผลทำให้ความดันโลหิตลดลงเล็กน้อย ชีพจรเต้นเร็วในระยะแรก (วันที่ 3)ไม่มีผลต่อปริมาณโปตัสเซียมในเลือด ไม่ทำให้คุณภาพน้ำปัสสาวะเปลี่ยนแปลงรศ.นพ.วีรสิงห์ เมืองมั่น ภาควิชาศัลยกรรม คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาในผู้ป่วยนิ่วในท่อไต ขนาดเท่าเม็ดมะละกอหรือประมาณ 0.5 ซม. 23 คน ดื่มยาชงหญ้าหนวดแมว ใบขนาด 4 กรัม ในน้ำเดือด 750 ซีซี ต่อวัน เป็นเวลา 2-6 เดือน พบว่า 9 คน (40 %) มีนิ่วหลุดออกมา(ส่วนใหญ่ที่นิ่วหลุดจะหลุดภายใน 3 เดือน) 13 คน (60 %) หายปวดแต่นิ่วไม่หลุดข้อควรระวัง : ถ้าใช้หญ้าหนวดแมวสดต้มกินอาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ และใจสั่น ถ้าต้มยาเข้มข้นเช่นต้มในน้ำ 2 ส่วน เคี่ยวเหลือ 1 ส่วน หรือต้มเดือดนาน 20 นาที เมื่อกินน้ำไปมากๆ อาจทำให้รู้สึกมึนงงคลื่นไส้ ใจสั่น เหนื่อย หายใจผิดปกติชีพจรผิดปกติ คนเป็นโรคหัวใจจึงควรระวัง ากทำให้ขับปัสสาวะคล่องแล้ว ยังทำให้ฟันแข็งแรง

วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ชื่อสมุนไพรแก้ฟอกซ้ำข้อเคล็ดปวดข้อเส้นพิการ




อวิทยาศาสตร์ : Betula alnoides Buch.-Ham.ex G.Don
ชื่อสามัญ : Birch
วงศ์ : Betulaceae
ชื่ออื่น : กำลังเสือโคร่ง(เชียงใหม่)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้น สูง ๒๐ -๓๕ เมตร วัดรอบลำต้นประมาณ ๑-๒ เมตรเปลือกไม้
(ที่ยังไม่ลอก) มีสีน้ำตาล เทา หรือ เกือบดำ มีรูระบายอากาศเป็นจัดขาวเล็กๆ กลม บ้างรีบางปะปนอยู่ เปลือกมีกลิ่นคล้ายการบูร เวลาแก่จะอกออกเป็นชั้นๆ คล้ายกระดาษ ที่ยอดอ่อน ก้านใบและช่อดอกมีขนสีเหลือง หรือ สีน้ำตาล ปกคลุม หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม หรือ แคบ ยาวประมาณ ๓-๘ มม.ใบ เป็นรูปไข่ถึงรูปไข่แกมหอก หรือรูปหอก เนื้อใบบาง คล้ายกระดาษ หรือ หนา ด้านใต้ของใบมีตุ่ม โคนใบป้านเกือบเป็นเส้นตรง ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยสองชั้นหรือสามชั้น ซี่หยักแหลม ปลายใบเรียวแหลม เส้นแขนงใบ ๗-๑๐ คู่ ดอก ออกเป็นช่อยาวคล้ายหางกระรอก ออกตามง่ามใบแห่งละ ๒-๕ ช่อ ดอกย่อยไม่มีก้าน ช่อดอกเพศผู้ยาว ๕-๘ ซม. กลีบรองดอกเป็นรูปโล่หรือกลม มีแกนอยู่ตรงกลาง ปลายค่อนข้างแหลม มีขนที่ขอบเกสรเพศผู้ ๔-๗ อันติดอยู่ที่แกนกลาง ช่อดอกเพศเมียยาว ๓-๙ ซม. กลีบรองดอกไม่มีก้าน มี ๓ หยัก ด้านนอกมีขน รังไข่แบน กรอบนอกเป็นรูปไข่ หรือเกือบกลม มีขน ท่อรังไข่ยาวกว่ารังไข่เล็กน้อย ผลแก่ร่วงง่าย แบน มีปีก ๒ ข้างปีกบางและโปร่งแสงแหล่งที่พบ มักขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การออกดอกระหว่างเดือน พฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์
ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้นไม้
สรรพคุณ :
เปลือกต้น - มีน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่ง กลิ่นฉุนแรงคล้ายน้ำมันระกำ แต่ถ้าทิ้งจนเปลือกแห้ง กลิ่นทำให้เส้น เอ็นแข็งแรง - ช่วยชำระล้างไตให้สะอาด บำรุงกองธาตุให้เป็นปกติ- ขับลมในลำไส้- ใช้บำบัดอาการผู้ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกของผู้หญิงไม่สมบูรณ์ มดลูกชอกช้ำ อักเสบเนื่องจากการกระทบกระเทือน แท้งบุตร มดลูกไม่แข็งแรงให้หายเป็นปกติ

วิธีและปริมาณที่ใช้ ใช้เปลือกต้น ถากออกจากลำต้น พอประมาณตามความต้องการ ใส่ภาชนะหรือกาน้ำ ต้มน้ำให้เดือด เคี่ยวไฟอ่อนๆ น้ำสมุนไพรจะเป็นสีแดง (ถ้าปรุงรสให้หอมหวานใช้ชะเอมพอสมควรกับน้ำตาลกรวด) ให้รับประทานขณะน้ำสมุนไพรอุ่นๆ จะมีคุณภาพดียิ่งขึ้น ถ้าใช้ดองกับสุรา สีจะแดงเข้ม (ถ้าจะปรุงรสและกลิ่นให้เติมน้ำผึ้ง-โสมตังกุย) สรรพคุณจะแรงขึ้นทวีคูณ ต้ม-ดองสุราได้ถึง3-4 ครั้ง จนกว่าจะหมดสีของสมุนไพร

วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

สมุนไพรพิชิตหนาว



เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูหนาว สาวๆ ต้องดูแลสุขภาพนะคะ หลักง่ายๆ ของการดูแลสุขภาพโดยทั่วไปคือ ต้องดูแลร่างกายให้ ได้รับความอบอุ่น เริ่มกันตั้งแต่การรับประทานอาหาร เครื่องดื่ม การทำความสะอาดร่างกาย ตลอดจนการดูแลสุขภาพด้านอื่นๆ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย ซึ่ง WP มีคำแนะนำดีๆ มาฝากค่ะ

ฤดูหนาวรับประทานอะไรดี

สำหรับการรับประทานอาหารในช่วงฤดูหนาว สาวๆ อย่างเราควรเลือกรับประทานอาหารที่ร้อนและปรุงเสร็จใหม่ๆ ควรมีรสเปรี้ยวอมขมเล็กน้อย และรสเผ็ด เช่น แกงส้มดอกแค แกงขี้เหล็ก แกงป่า สะเดาน้ำปลาหวาน และน้ำพริก เพราะธรรมชาติจะปรับเปลี่ยนไปตามฤดูกาล ผักพื้นบ้านและพืชสมุนไพรในฤดูต่างๆ ก็เปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน ในฤดูหนาว มักจะมีสมุนไพรพื้นบ้าน เช่น สะเดา ซึ่งมีรสขม เมื่อกินแล้วจะช่วยแก้ไข้ ทำให้เจริญอาหาร ขี้เหล็กมีสรรพคุณช่วยระบาย ดอกแคแก้ไข้หัวลม ซึ่งสาว WP ควรเลือกรับประทานผักพื้นบ้านที่มีอยู่ตามฤดูกาล ส่วนการเลือกเครื่องดื่มในช่วงหน้าหนาวนี้ ควรจะเป็นเครื่องดื่มร้อนๆ เช่น น้ำขิง ชาสมุนไพร เพื่อช่วยให้ชุ่มคอ ลดอาการไอ แก้หวัด ซึ่งป้องกันการเป็นหวัดในช่วงนี้ได้อีกทางหนึ่งด้วย

หน้าหนาวควรดูแลร่างกายอย่างไร

ด้วยอากาศที่หนาวเย็น เราควรอาบน้ำด้วยน้ำอุ่นและเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่หนา แต่บางครั้งการอาบน้ำอุ่นจะทำให้ผิวแห้งง่ายกว่าอาบน้ำเย็น เพราะน้ำมันที่ผิวหนังจะถูกชะล้างออกไป รวมทั้งความชื้นของอากาศที่ลดลง ก็จะเพิ่มให้ผิวแห้งแตกและคันได้ง่าย ดังนั้น สาวๆ ควรจะดูแลร่างกายในช่วงหน้าหนาวนี้เป็นพิเศษ โดยสามารถนำเอาสมุนไพรพื้นบ้านมาประยุกต์ใช้ดูแลผิวพรรณ อย่าง น้ำมันงา ขมิ้นชัน ผิวมะนาว และผิวมะกรูด

สมุนไพรดูแลผิวพรรณ

+ น้ำมันงา นำงาดิบประมาณ 1 ถ้วย โขลกให้ละเอียด บีบเอาน้ำมันจากงาเก็บไว้ในขวด ทาผิวตอนเช้าและก่อนนอน น้ำมันงาจะช่วยให้ผิวชุ่มชื้น ลดอาการแห้งแตกและคัน+ ขมิ้นชัน มีสรรพคุณช่วยลดอาการคันและช่วยลดอาการผดผื่นตามผิวหนัง เพียงนำขมิ้นชันสดมาล้างให้สะอาด โขลกให้ละเอียด บีบน้ำที่ได้นำมาทาผิว หลังอาบน้ำเช้า-เย็น แต่อาจจะมีสีของขมิ้นติดตามเสื้อผ้าที่สวมใส่ + ผิวมะกรูด น้ำมันที่ผิวของมะนาวและมะกรูด จะช่วยเคลือบผิว ให้ชุ่มชื้น ลดอาการคัน ลดการอักเสบ โดยนำมะนาวที่ใช้แล้ว ส่วนบริเวณผิวด้านนอกของมะนาว มาทาผิวบริเวณที่แห้งคัน เช้า-เย็น ก็จะช่วยลดอาการคันได้

การดูแลสุขภาพด้วยการอาบสมุนไพร

การอาบน้ำอุ่นในฤดูหนาวจะช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น เพราะในฤดูหนาว คนส่วนใหญ่มักจะเป็นหวัด คัดจมูก และคันตามผิวหนัง ซึ่งหากนำสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยลดอาการคัน มาต้มอาบแทนน้ำเปล่า ก็จะช่วยบรรเทาอาการคันได้ดี สมุนไพร ที่หาได้ง่าย ที่ควรนำมาต้มมีดังนี้

ยอดผักบุ้ง จำนวน 5 ยอด ใช้รักษาอาการคัน• ใบมะกรูด จำนวน 3-5 ใบ แก้วิงเวียน ช่วยให้หายใจสบาย• ใบมะขาม/ใบส้มป่อย 1 กำมือ แก้อาการคันตามร่างกาย ช่วยให้ผิวหนังสะอาด• ต้นตะไคร้ จำนวน 3 ต้น บำรุงธาตุไฟ • หัวไพล จำนวน 2-3 หัว ลดอาการอักเสบ ปวด บวม• ใบหนาด จำนวน 3-5 ใบ ช่วยบำรุง แก้โรคผิวหนัง น้ำเหลือง• หัวขมิ้นชัน จำนวน 2-3 หัว ช่วยสมานแผล แก้คันตามผิวหนัง• การบูร จำนวน 15 กรัม ช่วยบำรุงหัวใจ • หัวหอมแดง จำนวน 3-5 หัว แก้หวัดคัดจมูกเพียงนำสมุนไพรทั้งหมดมาต้มรวมกัน ผสมน้ำเย็นให้พออุ่น แล้วนำมาอาบ สรรพคุณของสมุนไพรก็จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ลดอาการคันตามผิวหนัง ช่วยให้หายใจโล่ง แค่นี้สาวๆ ก็จะรู้สึกสบายตัว ไม่ต้องกังวลกับฤดูหนาวแล้วค่ะ

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

lสมุนไพรแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ

ชื่อสมุนไพรตะไคร้

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citrates (DC.) Stapf
วงศ์ Graminae
ชื่อท้องถิ่น ไคร (ภาคใต้) จะไคร (ภาคเหนือ) คาหอม (แม่ฮ่องสอน)
เชิดเกรย ,เหลอะเกรย(เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
เป็นพืชที่มีอายุหลายปี ลำต้นรวมกันเป็นกอ ใบยาวเรียวปลายแหลมสีเขียวใบไม้ออกเทา มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก
การปลูก
ปลูกโดยการเอาต้นเหง้าปักชำเอาไว้ โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคน ยาวพอสมควร ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เจริญงอกงามได้ในดินแทบทุกชนิด
ส่วนที่ใช้เป็นยา
ผล เก็บเหง้าและลำต้นแก่ รสและสรรพคุณ
ไทย กลิ่นหอม บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหารแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมาก
วิธีใช้
ตะไคร้เป็นยารักษาอาการต่าตะไคร้เป็นยางๆดังนี้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ใช้ลำต้นแก่สดๆทุบพบแหลกประมาณ 1 กำมือต้มน้ำดื่มหรือประกอบเป็นอาหารอาการขับเบา ผู้ที่ปัสสาวะขัด ไม่คล่อง (แต่ต้องไม่มีอาการบวม) ใช้ตะไร้แก่สดต้มดื่มวันละ 3 ครั้งๆ ละ 1 ถ้วยชาก่อนอาหาร หรือใช้เหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดินหั่นฝานเป็นแว่นบางๆคั่วไฟอ่อนๆพอเหลืองชงเป็นยาดื่มวันละ 3 ครั้งๆละ 1 ถ้วยชาแก้หวัด ใช้ตะไคร้ 1 ต้น หั่นเป็นแว่นๆและขิงสด 5-6 แว่นใส่น้ำ 3-4 แก้ว ต้มจนเดือดทิ้งไว้ให้อุ่นดื่มครั้งละ 1/2-1 แก้ว วันละ 3 เวลา หลังอาหาร

วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

สมุนไพรต้านโรคมะเร็ง

มะเร็ง คือ โรคร้าย...ที่คร่าชีวิตมนุษย์ได้ทุกชนชั้น แม้ว่าจะไม่ฉับพลันเหมือนอุบัติเหตุ แต่มันก็ร้ายกว่าคือสร้างความเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน..
เพื่อบรรเทาต่อความเลวร้าย...คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้คิดค้นปัดฝุ่น เอาสมุนไพรไทยมาช่วยบำบัด คือทั้งให้เป็นโอสถสารและอาหารประจำวัน ทดแทนการบำบัดด้วยสารเคมีและการฉายรังสี... รศ.พรทิพย์ เชื้อมโนชาญ รองคณบดีเครือข่ายวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ พูดถึงความเป็นมาว่า....คณะเภสัชศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพ ของผู้ป่วยมะเร็ง ที่มีอาการข้างเคียงต่างๆ... ...จึงร่วมกับ มูลนิธิต่อต้านโรคมะเร็งภาคเหนือ คณะแพทยศาสตร์ จัดทำ “โครงการดูแลและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยมะเร็งด้วยสมุนไพรไทย” ใน บ้านนันทราษฎร์ ซึ่งเป็นบ้านพักผู้ป่วยมะเร็ง โดยการทำสวนสมุนไพรในบริเวณบ้านพัก เพื่อเป็นแหล่งสมุนไพรให้ผู้ป่วยและญาติสามารถนำสมุนไพรไปใช้และให้ความรู้เกี่ยวกับ การลดอาการข้างเคียง กิจกรรมในการนำสมุนไพรมาใช้ในผู้ป่วยนั้น จักต้องให้ความรู้และความเข้าใจ แก่ผู้ป่วยและญาติไปพร้อมๆกัน...จึงจะได้บรรลุผลตาม ผศ.ดร.สุนีย์ จันทร์สกาว จาก ศูนย์วิจัยสมุนไพรภาคเหนือ บอกว่า การดูแลสุขภาพ ผู้ป่วยด้วยสมุนไพรและผักพื้นบ้าน เป็นการสร้างความสำคัญ ให้ผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรงขึ้น เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานและชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและ...สมุนไพรกับผักพื้นบ้านนั้น ต้องไม่ส่งผลรบกวนต่อการรักษาด้วยวิธีต่างๆ ที่ผู้ป่วยมะเร็งได้รับ ไม่ว่าจะเป็นเคมีบำบัด หรือการฉายรังสีซึ่งมีสมุนไพรหลายชนิดที่สามารถลดอาการข้างเคียงของผู้ป่วยมะเร็ง ที่สำคัญสมุนไพรและผักพื้นบ้านของไทยหลายชนิดให้ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดี จึงเหมาะที่จะนำมาดูแลสุขภาพในรูปแบบของอาหาร
ผศ.ดร.สุนีย์ จันทร์สกาว ยังบอกต่ออีกว่า....ผู้ป่วยมะเร็งควรรับประทานผักพื้นบ้าน เช่น ผักที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ ใบชะพลู ผักแพว ใบยอ ผักกะเฉด ยอดแค สะเดา สะแล มะเขือพวง ขี้เหล็ก ใบเหลือง ผักแส้ว กระถิน ตำลึง ผักฮ้วน ผักที่มีเบต้าแคโรทีนสูง ได้แก่ ใบย่านาง ผักแพว ตำลึง ยอดแค ใบกะเพรา ผักแว่น ใบแมงลัก ชะอม ฟักทอง ผักที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ ผักกูด ขมิ้นขาว ผักแว่น ใบแมงลัก ใบกะเพรา ยอดมะกอก กระถิน ชะพลู ขี้เหล็ก ผักแขยง ผักที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ ดอกขี้เหล็ก ดอกและยอดผักฮ้วน มะรุม พริก ยอดสะเดา มะระขี้นก ผักหวาน ผักเชียงดา ผักขี้หูด ผักแพว รศ.พาณี ศิริสะอาด อาจารย์ผู้ร่วมโครงการ หนึ่งในทีมงานวิจัยสมุนไพรไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า....การนำพืชผักมาให้ผู้ป่วยรับประทานได้อย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกาย ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ควรใส่ใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็ง มักมีร่างกายซูบผอม เนื่องจากมีความรู้สึกหดหู่ ขาดกำลังใจ มีอาการอ่อนเพลีย รับประทานอาหารไม่ได้หรือเบื่ออาหาร ....จึงต้องปรับวิธีการปรุงอาหาร ทั้งการให้ผักสดปั่น ผักต้มปั่นและธัญพืชปั่น ซึ่งมีพืชผักหลายชนิดที่นำมาปั่นได้ เช่น มะเขือเทศ มะนาว ผักกาดหอม เมล็ดถั่ว เป็นต้น ซึ่งการปั่นจะทำให้ไม่ต้องเคี้ยวนาน ลดภาระการย่อย ทำให้ดูดซึมได้เร็วได้รับทั้งสารอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ และสรรพคุณด้านยา เมื่อผู้ป่วยมะเร็งแข็งแรงระดับหนึ่ง แล้วก็สามารถรับประทานอาหารพื้นบ้านรสไม่จัด ก็อยากจะแนะนำเสริมว่า ควรรับประทานอาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์ อย่างไรก็ตาม การใช้สมุนไพรและพืชผักพื้นบ้านเป็นทางเลือกเพื่อผู้ป่วยมะเร็ง ที่จะนำไปปรับใช้เพื่อลดอาการข้างเคียงและเสริมสร้างสุขภาพ ทั้งตัวผู้ป่วย ญาติหรือผู้ดูแล ซึ่งต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นสำคัญ... และที่ขาดไม่ได้คือ การให้ความรัก เอาใจใส่ ทำให้ มีกำลังใจ และ มีความสุข...ก็จะสามารถ ต่อสู้โรคร้าย ให้มีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกอย่างยาวนาน

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2551

สมุนไพรไทยแก้โรคเบาหวาน



กระเจี๊ยบแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibicus sabdariffa Linn
การปลูก
กระเจี๊ยบแดงเป็นพืชไวแสงที่สามารถปลูกได้ทั่วไป ชอบอากาศร้อนหรือค่อนข้างร้อน ทนต่อความแห้งแล้ง และไม่ชอบน้ำขัง ใช้วิธีปลูกในแปลงปลูก โดยหยอดเมล็ดตามแถวที่ไถไว้ หยอดหลุมละประมาณ 4-5 เมล็ด ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 70 เซนติเมตร แล้วกลบดินเล็กน้อย เมื่อกระเจี๊ยบแดงเป็นต้นอ่อนอาจถอนทิ้งหลุมละ 2-3 ต้น เพื่อให้ไม่แน่นมากนัก ควรให้น้ำสม่ำเสมอในช่วง 1-2 เดือนแรก หลังจากนั้นจะปล่อยตามธรรมชาติ นอกจากนี้ อาจปลูกในพื้นที่แปลงข้าวโพด เมื่อปลูกข้าวโพดแล้วประมาณ 1 เดือน โดยนำเมล็ดกระเจี๊ยบแดงผสมลงไปกับปุ๋ยข้าวโพด แล้วนำใส่เครื่องหยอดพ่วงกับรถไพเดินตาม หยอดตามช่องว่างระหว่างแถวข้าวโพด ต้นกระเจี๊ยบแดงจะเจริญเติบโตระหว่างแถวข้าวโพด เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดแล้วกระเจี๊ยบแดงอยู่ในช่วงออกดอกพอดี
พันธุ์ที่ใช้
พันธุ์ซูดานหรือพันธุ์เกษตร เนื้อหนา มีสีแดงเข้มจนถึงม่วงลักษณะกลีบเลี้ยงค่อนข้างหนา เนื้อบาง มีสีแดงสด ลักษณะกลีบเลี้ยงค่อนข้างบาง
การเก็บเกี่ยว
ควรเก็บเกี่ยวในช่วงที่พืชเจริญเติบโตเต็มที่ คือ ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวใช้เวลา 4 เดือน ถึง 4 เดือนครึ่ง ซึ่งการเก็บเกี่ยวกระเจี๊ยบแดงสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้1. เก็บเกี่ยวเฉพาะดอกกระเจี๊ยบแดง ใช้กรรไกรหรือมีดตัดเฉพาะดอกกระเจี๊ยบที่แก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยว2. เก็บเกี่ยวทั้งต้นกระเจี๊ยบ เกษตรใช้เคียวเกี่ยวกิ่งที่มีดอกกระเจี๊ยบบริเวณโคนกิ่ง
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
ดอกกระเจี๊ยบที่เก็บเกี่ยวได้นำมากระทุ้งให้กลีบดอกและกระเปาะเมล็ดหลุดออกจากกันโดยใช้เหล็กกระทุ้ง และนำกลีบดอกที่กระทุ้งได้มาตากในภาชนะที่สะอาด ไม่มีฝุ่น ตากแดดประมาณ 5-6 วัน หรืออบให้แห้งสนิท จึงทยอยเก็บ ส่วนกระเปาะเมล็ดให้แยกตาม เมื่อแห้งสนิทให้ร่อนเมล็ดออก นำไปจำหน่ายได้เช่นกัน
สารสำคัญ
กลีบรองดอกมีสารสีแดงจำพวก anthocyanin จึงทำให้มีสีม่วงแดง เช่นสาร cyanidin, delphinidin และมีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น ascorbic acid, citric acid, malic acid และ tartaric acid กรดเหล่านี้ทำให้กระเจี๊ยบมีรสเปรี้ยว และยังพบมีวิตามินเอ Pectin และแร่ธาตุอื่น ๆ ได้แก่ แคลเซียมในปริมาณสูงฟอสฟอรัส แมกนีเซียม เป็นต้น ใบและยอดอ่อนมีวิตามินเอ แคลเซียมและฟอสฟอรัสในปริมาณสูง
ผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
การศึกษาในสัตว์ทดลองหรือหลอดทดลอง พบว่า สารสกัดหรือสารสำคัญของกระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์หลายประการ ดังนี้ 1. ฤทธิ์ลดความดันโลหิต ชาชงหรือสารสกัดด้วยน้ำของกระเจี๊ยบแดงแสดงฤทธิ์ลดความดันโลหิตในหนูขาวได้ กลไกการออกฤทธิ์ส่วนหนึ่งอาจเนื่องจากฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ angiotensin converting enzyme 2. ฤทธิ์ลดไขมันในเลือด เมื่อให้กระต่ายที่กินไขมันสูง กินสารสกัดกระเจี๊ยบ 0.5 % หรือ 1 % นาน 10 สัปดาห์ พบว่าทำให้ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ โคเลสเตอรอล และแอลดีแอล-โคเลสเตอรอลลดลงและความรุนแรงของการอุดตันของหลอดเลือดแดงใหญ่จากหัวใจน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ 3. ฤทธิ์ต้านการเกิดพิษต่อตับ มีงานวิจัยในสัตว์ทดลอง พบว่าสารสกัดด้วยน้ำหรือสารสำคัญกลุ่ม anthocyanins และสาร protocatechuic acid ของกระเจี๊ยบสามารถลดความเป็นพิษต่อตับของสารพิษได้หลายชนิด 4. ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร สารสกัดด้วยน้ำ และส่วนสกัด mucilage มีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูขาว เมื่อถูกกระตุ้นให้เกิดแผลด้วยยาอินโดเมธาซิน, กรด/เอธานอล หรือความเครียด โดยการรักษาปริมาณเมือกที่เคลือบผนังกระเพาะอาหารไว้ประสิทธิผลในการรักษาจากรายงานการวิจัยทางคลินิก ดังนี้ 1.ฤทธิ์ลดความดันโลหิตการวิจัยทางคลินิกของชาชงกระเจี๊ยบแดงในผู้ป่วย ความดันโลหิตสูงปานกลาง 54 คน เทียบระหว่างกลุ่มที่ได้ชาชงกระเจี๊ยบ (31 คน) กับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ชาชง (23 คน) พบว่าในวันที่ 12 หลังได้รับชาชง ค่าความดันโลหิตเมื่อหัวใจบีบตัวและเมื่อหัวใจคลายตัว ลดลง 11.2% และ 10.7% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับวันแรก ซึ่งแตกต่างจากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และ 3 วันหลังจากหยุดดื่มชาชงค่าความดันโลหิตทั้งสองค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ฤทธิ์ขับปัสสาวะเมื่อให้ผู้ป่วย 50 ราย ดื่มผงกระเจี๊ยบ 3 กรัม ชงน้ำเดือด 1 ถ้วยแก้ว (300 ซีซี) วันละ 3 ครั้ง นาน 7 วันถึง 1 ปี พบว่า ได้ผลดีในการขับปัสสาวะ 3. การศึกษาในผู้ป่วยโรคทางเดินปัสสาวะเมื่อให้ผู้ป่วยโรคนิ่วหรือโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ เนื้องอกของต่อมลูกหมากหลังการผ่าตัด ใช้น้ำดอกกระเจี๊ยบ 3 กรัม มาชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 1 ปี พบว่า 80 % ของผู้ป่วยมีปัสสาวะใสกว่าเดิม และพบว่าทำให้ปัสสาวะเป็นกรดจึงช่วยฆ่าเชื้อในทางเดินปัสสาวะด้วย
ข้อห้ามใช้
ไม่มีข้อมูล
ข้อควรระวัง
กระเจี๊ยบแดงอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ในผู้ป่วยบางราย เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบายด้วย
ขนาดที่ใช้ และวิธีใช้
ใช้เป็นยารักษาอาการขัดเบา โดยนำกลีบเลี้ยงตากแห้งบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำ 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาจะหายไป

สมุนไพรไทยที่ควรรู้จัก

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2551

สมุนไพรไทย

ฟ้าทะลายโจร


คนไทยส่วนจะนิยมนำสมุนไพรที่มีชื่อว่า "ฟ้าทะลายโจร" ในการบรรเทาอาการไข้หวัด สำหรับฟ้าทะลายโจร เป็นที่รู้จักตั้งแต่สมัยโบราณและได้รับการยอมรับเป็นสมุนไพรแห่งปี ในปัจจุบันมีการนำฟ้าทะลายโจรมาทำเป็นยาลูกกลอน หรือใส่แคปซูลเพื่อความสะดวกในการกิน ขณะนี้ต้นฟ้าทะลายโจรได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในประเทศไทย มีผู้ทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยถึงสรรพคุณยา และได้พบสารเคมีในส่วนต่างๆ ของพืชอยู่หลายชนิด รวมทั้งสาร Andrographolide ที่เป็นตัวยาสำคัญที่มีอยู่ในทุกส่วนคือ ราก ต้น ใบของฟ้าทะลายโจร และได้ทำการศึกษาทดลองเพื่อจำแนกโรคที่รักษาได้ดีให้ชัดเจน ซึ่งพบว่าฟ้าทะลายโจรรักษาโรคเหล่านี้ได้คือ แก้ติดเชื้อทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะอักเสบ ลำไส้อักเสบ แก้อาการไอ เจ็บคอ หรือคออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ แก้ไข้ทั่วไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เป็นยาขมเจริญอาหาร เป็นต้น

สมุนไพรฟ้าทะลายโจร ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการหวัด และเสริมภูมิต้านทานดีกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะในคนที่เป็นหวัดบ่อยๆ ร้อนในบ่อยๆ เนื่องจากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ภูมิต้านทานอ่อนลง การรับประทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรจะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่เป็นหวัดง่าย ร้อนในจะหายไป และสมุนไพรฟ้าทะลายโจรดีกว่ายาปฏิชีวนะ ตรงที่ไม่เกิดการง่วงนอน ไม่เกิดการดื้อยา และยังป้องกันตับจากสารพิษหลายชนิด เช่น จากยาแก้ไข้พาราเซตามอล หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ล้มลุกสูง 1-2 ศอก ลำต้นสี่เหลี่ยมตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ใบเรียวกว้างประมาณ 1 ซ.ม. ดอกออกเป็นช่อเล็กๆ สีขาว มีรอบประสีม่วงแดง กลีบดอกด้านบนมี 3 หยัก ด้านล่างมี 2 หยัก ผลเป็นฝักคล้ายฝักต้อยติ่ง เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ต้นและใบมีรสขมมาก ส่วนที่ใช้เป็นยาคือ ราก ใบ ทั้งต้น

การปลูก

ใช้เมล็ดโรยลงดิน กลบดินไม่ต้องลึกแล้วรดน้ำให้ชุ่ม มักนิยมปลูกตอนต้นฤดูฝน ไม่ชอบแดดจัดมาก หากอยู่ในที่แจ้งต้นจะเตี้ยใบเล็กหนา และในที่ร่มต้นจะสูง ใบใหญ่แต่บาง ควรปลูกในที่ไม่ร่มและไม่แจ้งนัก ในฤดูฝนไม่จำเป็นต้องรดน้ำ แต่ในฤดูแล้งควรรดน้ำให้ดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ ถ้าปลูกขึ้นได้หนึ่งต้นจนมีฝักแก่ เมล็ดจะกระจายออกไปขึ้นทั่วจนต้องถอนทิ้งบ้าง

ประโยชน์ในการรักษา

1.ใช้รักษาอาการเจ็บคอ 2.ใช้แก้อาการท้องเสีย และโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน 3.บรรเทาอาการหวัดและเสริมภูมิต้านทาน ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นหายจากหวัด ภูมิแพ้ที่มักเป็นบ่อยๆ ให้หายเร็วขึ้น 4.ใช้เป็นยาภายนอกเป็นยาพอกฝี รักษาแผลที่เป็นหนอง