วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สมุนไพรแก้ท้องเสีย


ว่านนางคำ

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Curcuma aromatica Salisb.ชื่อพ้อง C.zedoaria Roxb

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ล้มลุก เหง้าและหัวสีเหลือง มีกลิ่นหอมใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกใกล้ราก ประมาณ 5-7 ใบ รูปใบหอกกว้าง กว้าง 10-14 ซม. ยาว 40-70 ซม. ปลายเรียวแหลม ท้องใบมีขน ดอกช่อเชิงลด มักมีดอกก่อนใบงอกจากเหง้า ช่อดอกยาวประมาณ 5-8 ซม.ใบประดับที่ปลายช่อสีชมพู ใบประดับที่รองรับดอกสีขาวแกมเขียว ปลายโค้ง ยาวได้ถึง 6 ซม. ใบประดับย่อยสีขาว ยาวประมาณ 2 ซม. กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2 ซม. กลีบดอกสีขาวแกมชมพูแฉกกลางรูปไข่กว้าง แฉกข้างรูปขอบขนาน กลีบปากรูปโล่แยกเป็น 3 แฉก สีเหลืองเข้ม ในว่านนางคำ มีสาร curcuminoid ที่ช่วยลดอนุมูลอิสระ และช่วยปรับสภาพผิวให้ขาวขึ้น และมีสารไฟโตเคมีคอลอีกจำนวนมากที่ช่วยบำรุงผิวให้เนียนนุ่มขาวนวล ในสมัยโบราณว่านนางคำเป็นว่านที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสีท่านมักใช้อยู่เป็นประจำ โดยเมื่อเวลาที่ท่านสรงน้ำเสร็จ ท่านก็จะนำว่านนางคำมาทาศรีษะและตามร่างกาย ท่านมักทำเช่นนี้จนเป็นกิจวัตรจนเรื่องถึงพระเนตรพระกรรณ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ และพระองค์ทรงตรัสสรรพยอกว่า“หัวเหลือง” สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านอาจเล็งเห็นถึงคุณวิเศษที่มีอยู่ในว่านชนิดนี้ก็เป็นได้ ถึงได้นำมาใช้อยู่เสมอๆ ถือกันว่าเป็นว่านศักดิ์สิทธิ์จึงให้เสกด้วยคาถา“นะโมพุทธายะ” มีผู้รู้บางท่านนำว่านนางคำมาใช้เพื่อหวังทางเสน่ห์มหานิยม ทั้งการทำเป็นกระแจะเจิมที่หน้าผาก หรือผสมน้ำมันแตะแต้ม นอกจากนี้เล่ากันว่า "พระนางคลีโอพัตรา" ก็ใช้ "ว่านนางคำ" เป็นตัวช่วยให้ผิวงดงามอยู่ตลอดเวลา เพราะในหัว "ว่านนางคำ" มีสาร curcuminoid และวิตามินหลายชนิด ช่วยบำรุงผิว ป้องกันเม็ดผดผื่นในยุคปัจจุบัน ว่านนางคำ ได้ถูกนำมาสกัดสารสำคัญ เพื่อผสมลงในครีมบำรุงผิวทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมทั้งการทำยารักษาผิวหนังเป็นจำนวนมาก ช่วยลดผดผื่นคัน และลดเชื้อแบคทีเรียทางเภสัชมักนิยมใช้หัวสดตำให้ละเอียดผสมสุราโรง ๔๐ ดีกรี พอกแก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก โรคเม็ดผดผื่นคันตามร่างกาย มีบางตำราท่านว่านำหัวสดโขลกแช่กับน้ำมันเบนซินผสมการบูรเล็กน้อยทาแก้ฟกช้ำ หรือปวดเมื่อยตามร่างกาย แต่ประเด็นหลังนี้ไม่ขอแนะนำครับ เพราะผิวหนังอาจเกิดอาการแพ้น้ำมันได้ หรือหากใช้แก้อาการปวดท้อง ถ่ายท้อง ให้ใช้หัวสดฝนกับน้ำปูนใสกินอาการดังกล่าวจะทุเลาลง หรือจะกินหัวสดๆ กับเหล้าขาวก็ได้เช่นเดียวกัน รากใช้เป็นยาขับเสมหะและใช้เป็นยาสมาน แก้โรคท้องร่วง โรคหนองในเรื้อรัง และว่านนางคำสามารถนำมาปรุงเข้ากับยาสมุนไพรอื่นๆ ได้ ปัจจุบันตามร้านขายยาแผนโบราณยังคงใช้เป็นตัวยารักษาโรคเช่นเดิม

สรรพคุณ

1. ราก..... ขับเสมหะ แก้ลงท้อง เป็นยาสมาน แก้โรคหนองในเรื้อรัง

2. หัว...... ขับลมในลำไส้ แก้เม็ดผื่นคัน แก้ฟกช้ำ แก้ปวดท้อง แก้ข้อเคล็ด เคล็ดยอก แก้หนองใน ทาฝี แก้ต่อมทอนซิล และต่อมน้ำลาย อักเสบ แก้ฟกช้ำบวม

3. ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอกฟกบวม กระทุ้งพิษ แก้เม็กผื่นคัน ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง ขับเสมหะ แก้ท้องร่วง แก้หนองใน แก้มดลูกอักเสบ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยายับยั้งเนื้องอก ทำให้เกิดการสร้างแอนติบอดี เป็นพิษต่อตับและไตต้านอาการดีซ่าน ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านยีสต์ ต้านเชื้อรา เพิ่มพฤติกรรมธรรมชาติของสัตว์ทดลอง เร่งการสมานแผล ต้านไวรัส ฆ่าพยาธิไส้เดือนและพยาธิตัวแบน ยับยั้งการหดเกร็งกล้ามเนื้อกระตุ้นการหายใจต้านการเกิด complement ต้านการชัก ยับยั้งคอเลสเตอรรอลในเลือดสูงยับยั้งการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองที่เกิดจากภูมิแพ้ ทำให้แท้ง เป็นพิษต่อตัวอ่อนต้านโปรเจสเตอโรน เพิ่มฤทธิ์ของบาร์บิตูเรต ยับยั้งการขากโลหิตไปเลี้ยงเฉพาะที่ การทดลองความเป็นพิษพบว่าถ้าให้น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าโดยฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้หนูตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งคือ 655 มก/กก แต่ถ้าเป็นสารสกัดด้วยเอธานอล 90% จะเป็น 1ก/กก ส่วนสารสกัดเหง้าด้วย เอธานอลและน้ำ (1:1) โดยฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักรทั้งสองเพศ พบว่าขนาดที่หนูตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งคือ 1 ก/กก เช่นเดียวกัน

สมุนไพนแก้ไข้

หญ้าใต้ใบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Phullanthus amarusschumชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAEชื่ออื่น หญ้าใต้ใบขาว, มะขามป้อมดิน

สรรพคุณ

ทั้งต้นรสขมจัด แก้ไข้ทุถชนิด แก้ไข้จับสั่น ดับพิษร้อน แก้พิษตานซาง แก้โทษน้ำดีพิการ นอนหลับๆตื่น สะดุ้งผวา กระตุ้นไตให้ทำงานแก้ขัดเบา แก้กามโรค แก้ดีซ่าน แก้ริดสีดวง แก้โรคท้องมาน แก้ปวดท้อง แก้ไอ ขับระดู ขาว ขับปัสสาวะ ลดความดันเลือด รักษาโรคตับอักเสบ ขนิดบี

วิธีใช้

๑. แก้ไข้ท้องบระดู นำหญ้าใต้ใบทั้ง ๕ ล้างน้ำสะอาด ตำละเอียดผสมสุรา คั้นเฉพาะน้ำยา กินครั้งละ ๑ ถ้วยชา

๒. แก้ร้อนใน ให้เอาหญ้าใต้ใบทั้ง ๕ ต้มกิน

๓. ขับเหงื่อ เอาหญ้าใต้ใบต้มกินขับเหงื่อ ลดไข้ได้

๔. ขับปัสสาวะ นำหญ้าใต้ใบต้มกิน กระตุ้นไตให้ทำงานและขับ ปัสสาวะ

๕. แก้ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ใช้หญ้าใต้ใบต้มกิน รักษาโรคติด เชื้อทางเดินปัสสาวะ เช่น ไตอักเสบจนตัวบวม ( ให้สังเกตดู กินแล้วต้อง มีปัสสาวะออก ถ้ากินแล้วปัสสาวะไม่ออกให้หยุดยา)

๖. แก้นิ่ว หญ็าใต้ใบทั้ง ๕ จำนวน ๑ กำมือ ตำแหลกคั้นน้ำดื่มให้ได้ครึ่งถ้วยชา เอาสารส้มขนาดปลายนิ้วก้อยละลายลงไป ดื่มให้หมดครั้งละ ครึ่งถ้วยชา วันละ ๓ เวลาก่อนอาหาร ดื่มติดต่อกันให้ได้ ๓ วัน จากนั้น ใช้ลูกใต้ใบ ทั้ง๕ จำนวน ๑ กำมือ ต้มกับน้ำตาลทรายแดงให้พอหวานดื่มต่างน้ำติดต่อกันอีก ๓ วัน ขึ้นวันที่

๗ ดื่มน้ำอ้อยสด วันละ ๑ ขวดน้ำปลาอีก ๓ วัน เพื่อล้างนิ่วเป็นขั้นสุดท้าย รวม ๑ รอบ การรักษาเป็นเวลา ๙ วัน๗. แก้ประจำเดือนมากว่าปกติ ใช้รากสดต้นลูกใต้ใบตำผสมกับ น้ำซาวข้าวกิน

๘. ขับประจำเดือน ใช้ต้นลูกใต้ใบต้มกินขับประจำเดือน

๙. แก้นมหลง หญิงที่คลอดบุตรแล้วน้ำนมที่เคยไหลเกิดหยุดไหลและมีอาการปวดเต้านมด้วย เรียกอาการนี้ว่า นมหลง ถ้าปล่อยไว้จะกลายเป็นฝีที่นมได้ วิธีใช้คือ เอาลูกใต้ใบทั้งห้า จำนวน ๑ กำมือ ตำผสม เหล้าขาวคั้นเาอน้ำกิน ๑ ถ้วยชา เอากากพอกทำเพียงครั้งเดียว ไม่กี่นาที นมจะไหลออกมา

๑๐. แก้ปวดหลังปวดเมื่อย ใช้หญ้าใต้ใบทั้ง ๕ ล้างน้ำสะอาดสับเป็น ชิ้นเล็กๆ ตากแดดให้แห้ง ใส่หม้อดินต้ม ดื่มน้ำยาต่างน้ำชา มีสรรพคุณ แก้ปวดหลังปวดเอว

๑๑. แก้เถาดานในท้อง เถาดานมีลักษณะเป็นก้อนแข็งในท้องบางที มีลักษณะเป็นแผ่นแข็ง อาจเป็นผลทำให้ปวดหลังตามาได้ เอาลูกใต้ใบทั้งห้า ตากให้แห้ง ๑ ลิตร แช่ในสุรา ๑ ลิตร หมกข้าวเปลือกไว้ ๗ วัน แล้วเอามานึ่ง คะเนว่าธูปหมด ๑ ดอก กิน เช้า-เย็น

๑๒. ยาบำรุง ใช้รากและใบของลูกใต้ใบ ทำเป็นยาชงน้ำกิน โดยถือว่า เป็นยาบำรุงกำลังอย่างดี

๑๓. แก้เบาหวาน ให้เอาลูกใต้ใบทั้งห้า ๑ กำมือ ต้มดื่มแก้เบาหวาน

๑๔. แก้ดีซ่าน เอาลูกใต้ใบทั้งห้า ต้ม ๓ เอา ๑ กินครั้งละ ครึ่ง -๑ แก้ว วันละ ๓ -๔ ครั้ง ในจีนใช้ต้นหญ้าใต้ใบต้มกินติดต่อกัน ๑ สัปดาห์ และ ยังถือว่าช่วยกำจัดพิษออกจากตับซึ่งจะมีผลทำให้สายตาดี ส่วนใน อินเดีย ใช้เฉพาะรกาต้มกิน เป็นยาแก้ดีซ่านดีมาก

๑๕ แก้กระเพาะอาหารพิการ ใช้รากลูกใต้ใบต้มหรือชงน้ำกิน บำรุง กระเพาะอาหารในเขมรใช้ลูกใต้ใบเป็นยาเจริญอาหาร ในจีน ใช้ หญ้าใต้ใบรักษาลำไส้อักเสบ

๑๖. รักษาแผล ในอินเดีย ใช้ใบลูกใต้ใบ ตำพอกหรือตำคั้นเอาน้ำทารักษาแผลสด แผลฟกช้ำ และใช้ใบตำผสมน้ำซาวข้าวพอกรักษาแผล เรื้อรัง

๑๗. แก้คัน ใช้ใบผสมกับเกลือ ตำแก้คัน

๑๘. แก้เริม ใช้ลูกใต้ใบทั้งห้า ตำผสมเหล้าคั้นเอาน้ำยา แล้วเอาสำลี ชุบแปะตรงที่เป็นเริม จะรู้สึกเย็นและหายปวด

๑๙. แก้ฟกช้ำ ใช้ต้นสดๆ ตำผสมกับสุราพอกแก้ฟกบวม บางตำรา ใช้คลุกกับข้าวสุกเสียก่อน ค่อยพอก ในอินเดีย ใช้ใบและรากแห้งบดเป็นผงผสมกับน้ำซาวข้าวพอกแก้ฟกบวม

๒๐. แก้ฝี ใช้ต้นหญ้าใต้ใบสดๆ ตำผสมกับสุรา เอาน้ำทาหรือพอกแก้ ปวดฝี

๒๑. แก้หืด ใช้ลูกใต้ใบ ทั้งห้า นำมาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสม กับน้ำอุ่นคั้นเอาน้ำเฉพาะน้ำดื่มครั้งละ ๒-๓ อึก เป็นเวลา ๓ วันๆละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร

๒๒. แก้บิด ใช้ลูกใต้ใบทั้งห้าต้มกิน หรือใช้ลูกใต้ใบทั้งห้า แทรกปูน แดง ขนาดเม็ดถั่วดำ ต้มรวมกันกินแก้บิด

สมุนไพรขับปัสสาวะ


หญ้าหนวดแมว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Orthosiphon aristatus Miqชื่อวงศ์ LABITAEชื่ออังกฤษ : Java Tea, Kidney tea, Cat’ s Whiskersชื่ออื่น พยับเมฆ บางรักป่า อีตู่ดง
ลักษณะของพืช : พืชล้มลุก พวกเดียวกับกระเพรา โหระพา สูง 0.3-1 เมตรลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ขอบใบหยักสีเขียวเข้ม ดอกเป็นช่อที่ยอด สีขาวอมม่วง หรือสีฟ้า บานจากล่างขึ้นไปข้างบนเป็นชั้นๆ คล้ายฉัตรแต่ละชั้นมีดอกเล็กๆ 6 ดอก เกสรตัวผู้เป็นเส้นยาวยื่นออกมาคล้ายหนวดแมว เกสรสีขาวตรงปลายมีติ่งสีน้ำเงินอมม่วง ใบ และดอกเมื่อเคี้ยวสดๆมีรสขม
สรรพคุณและวิธีใช้
๑. ขับปัสสาวะ หญ้าหนวดแมวทำให้การขับปัสสาวะเพิ่มขึ้นทำให้ ปวดปัสสาวะเร็วกว่าเดิม และไม่ทำให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ สารที่ออกฤทธิขับปัสสาวะคือ เกลือโปแตสเซี่ยมและสารตัวอื่นๆ
๒. รักษานิ่วกรด ใช้หญ้าหนวดแมว รักษาคนไข้ที่เป็นนิ่วกรดโดย ให้กินนานๆ พบว่า หญ้าหนวดแมวยังช่วยขับกรดยูริคและช่วยทำให้ ปัสสาวะในไตมีฤทธิ์เป็นด่างมากขึ้น
๓. รักษาโรคนิ่ว หญ้าหนวดแมวขับนิ่วได้ โดยออกฤทธิ์ขับปัสสาวะและช่วยขยายหลอดไตให้กว้างขึ้น และทำให้อาการปวดนิ่วลดลง
๔. รักษาโรคไต หญ้าหนวดแมว ช่วยรักษาอาการโรคไตได้อีกทั้งรักษาคนที่เป็นโรคไตควบกับโรคหัวใจได้ด้วย
๕. ลดน้ำตาลในเลือด ใบหญ้าหนวดแมวมีกรดเออร์โซลิค ซึ่งกรดนี้ ลดน้ำตาลในเลือดได้
๖. รักษาถุงน้ำดีอักเสบ ใช้รักษาคนเป็นโรคถุงน้ำดีอักเสบ ได้ทั้ง ชนิดเรื้อรังและเฉียบพลัน นอกจากนี้ ยังมีฤทธิ์ขับน้ำดีและน้ำย่อยใน กระเพาะอาหารอีกด้วย
๗. แก้อัณฑะอักเสบ บวมโต เกิดการอักเสบภายใน อัณฑะบวมโตปัสสาวะไม่สะดวก ออกกระปริดกะปรอย แล้วปวด ใช้ยอดหญ้าหนวดแมว ตากแดด ๒ แดด ให้แห้ง แล้วต้มน้ำดื่ม ปัสสาวะจะสะดวกขึ้นจนหายเป็น ปกติ
๘. แก้ไขข้ออักเสบ มีอาการปวดตามข้อต่อกระดูกทุกแห่ง ค่อยๆ ปวดมากขึ้น จนเป็นไข้ ใช้หญ้าหนวดแมว ทั้ง ๕ ตัมพอยาสุก กินครั้งละ ๑ ถ้วย วันละ ๓ เวลา อาการปวดขัดตามข้อจะดีขึ้นตัวเบา สมองโปร่ง อารมณ์รื่นเริงดีขึ้น การใช้หญ็าหนวดแมวต้มกินติดต่อกันเป็นเวลา นานๆ จะรู้สึกคลื่นไส้อาเจียน แต่เมื่อหยุด จะหายไปเอง
๙. ปวดหลัง ปวดเอว ใช้หญ็าหนวดแมวทั้ง ๕ มาต้มกิน จะรู้สึกดี หายปวดเมื่อย
๑๐. แก้เบาหวาน หญ็าหนวดแมว มีสารลดน้ำตาลในเลือด ในชั่วระ ยะเวลาหนึ่ง
๑๑. ไอ เนื่องจากหวัด ชงชาหญ็าหนวดแมว ดื่มเพื่อบรรเทาอาการ ไอ
๑๒. แก้ปวดฟัน ใช้หญ้าหนวอแมวสดๆ ตำกับเกลือ แล้วอมไว้สัก ๑๐-๒๐ นาที ก็หายปวด และมาแน่นดังเดิม
๑๓. รักษาฟัน ในหญ้าหนวดอแมว มีสารยูเรีย ซึ่งทำให้ฟันแข็งแรงนอกจ
ข้อมูลทางคลินิก
นพ.พิชัย ตั้งสิน และ ภญ.ปริศนา แสงเจษฎา ศึกษาฤทธิ์ของยาชงหญ้าหนวดแมวในผู้ป่วยในทางเดินปัสสาวะ ส่วนบน เทียบกับไฮโดรคลอไรไธอาไซด์ และโซเดียมไบคาร์บอเนต โดยแบ่งกลุ่มผู้ป่วย 9 คน พบว่ากลุ่มที่ ได้รับยาหญ้าหนวดแมวมีการเคลื่อนตัวของนิ่วบริเวณกระดูกกระเบนเหน็บ (นิ่วชนิดทึบแสงในทางเดินปัสสาวะ เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 1 ซม. ) และใช้ยาแก้ปวดไม่ต่างจากกลุ่มที่ใช้ยามาตรฐาน ยาชงนี้มีผลทำให้ความดันโลหิตลดลงเล็กน้อย ชีพจรเต้นเร็วในระยะแรก (วันที่ 3)ไม่มีผลต่อปริมาณโปตัสเซียมในเลือด ไม่ทำให้คุณภาพน้ำปัสสาวะเปลี่ยนแปลงรศ.นพ.วีรสิงห์ เมืองมั่น ภาควิชาศัลยกรรม คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาในผู้ป่วยนิ่วในท่อไต ขนาดเท่าเม็ดมะละกอหรือประมาณ 0.5 ซม. 23 คน ดื่มยาชงหญ้าหนวดแมว ใบขนาด 4 กรัม ในน้ำเดือด 750 ซีซี ต่อวัน เป็นเวลา 2-6 เดือน พบว่า 9 คน (40 %) มีนิ่วหลุดออกมา(ส่วนใหญ่ที่นิ่วหลุดจะหลุดภายใน 3 เดือน) 13 คน (60 %) หายปวดแต่นิ่วไม่หลุดข้อควรระวัง : ถ้าใช้หญ้าหนวดแมวสดต้มกินอาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ และใจสั่น ถ้าต้มยาเข้มข้นเช่นต้มในน้ำ 2 ส่วน เคี่ยวเหลือ 1 ส่วน หรือต้มเดือดนาน 20 นาที เมื่อกินน้ำไปมากๆ อาจทำให้รู้สึกมึนงงคลื่นไส้ ใจสั่น เหนื่อย หายใจผิดปกติชีพจรผิดปกติ คนเป็นโรคหัวใจจึงควรระวัง ากทำให้ขับปัสสาวะคล่องแล้ว ยังทำให้ฟันแข็งแรง