วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

lสมุนไพรแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ

ชื่อสมุนไพรตะไคร้

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citrates (DC.) Stapf
วงศ์ Graminae
ชื่อท้องถิ่น ไคร (ภาคใต้) จะไคร (ภาคเหนือ) คาหอม (แม่ฮ่องสอน)
เชิดเกรย ,เหลอะเกรย(เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
เป็นพืชที่มีอายุหลายปี ลำต้นรวมกันเป็นกอ ใบยาวเรียวปลายแหลมสีเขียวใบไม้ออกเทา มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก
การปลูก
ปลูกโดยการเอาต้นเหง้าปักชำเอาไว้ โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคน ยาวพอสมควร ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เจริญงอกงามได้ในดินแทบทุกชนิด
ส่วนที่ใช้เป็นยา
ผล เก็บเหง้าและลำต้นแก่ รสและสรรพคุณ
ไทย กลิ่นหอม บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหารแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมาก
วิธีใช้
ตะไคร้เป็นยารักษาอาการต่าตะไคร้เป็นยางๆดังนี้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ใช้ลำต้นแก่สดๆทุบพบแหลกประมาณ 1 กำมือต้มน้ำดื่มหรือประกอบเป็นอาหารอาการขับเบา ผู้ที่ปัสสาวะขัด ไม่คล่อง (แต่ต้องไม่มีอาการบวม) ใช้ตะไร้แก่สดต้มดื่มวันละ 3 ครั้งๆ ละ 1 ถ้วยชาก่อนอาหาร หรือใช้เหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดินหั่นฝานเป็นแว่นบางๆคั่วไฟอ่อนๆพอเหลืองชงเป็นยาดื่มวันละ 3 ครั้งๆละ 1 ถ้วยชาแก้หวัด ใช้ตะไคร้ 1 ต้น หั่นเป็นแว่นๆและขิงสด 5-6 แว่นใส่น้ำ 3-4 แก้ว ต้มจนเดือดทิ้งไว้ให้อุ่นดื่มครั้งละ 1/2-1 แก้ว วันละ 3 เวลา หลังอาหาร

ไม่มีความคิดเห็น: